สรุปให้รู้ตามทันโลก อนาคตการศึกษา ep.29 นโยบายเพื่อ LGBTQ+ ในรั้วโรงเรียน

 

 

สรุปให้รู้ตามทันโลก อนาคตการศึกษา ep.28 นโยบายเพื่อ LGBTQ+ ในรั้วโรงเรียน

 

 

 


                 

 

 

 

สรุปให้รู้ตามทันโลก อนาคตการศึกษา

   นโยบายเพื่อ LGBTQ+ ในรั้วโรงเรียน

 

                      ภาพสะท้อนถึงความแตกต่างมันจะออกมาดีหรือแย่ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ มักขึ้นอยู่กับคนตีความเรื่องนั้น ๆ ออกมา ความแตกต่างและหลากหลายทางเพศที่เคยถูกทำให้เป็นเรื่องผิดอย่างในอดีตก็เช่นกัน เมื่อค่านิยมที่ครอบงำสังคมในยุคนั้นถูกตีความว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร จึงไม่ถูกยอมรับ จนเวลาล่วงเลยผ่านมาสภาพสังคมและค่านิยมใหม่ ๆ หล่อหลอมให้ผู้คนตีความได้อย่างเปิดกว้างมากขึ้นในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียม

 

ในปี 2024 แทบจะไม่มีสังคมที่ใครหรือเพศไหนเป็นใหญ่กว่าเหมือนในอดีต แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง อาจจะไม่ใช่ว่าไม่มีแต่คงแคบลงและซ่อนเร้นจนแทบไม่ได้ยิน เพราะโลกปัจจุบันวุ่นวายเกินกว่าที่จะสนใจคนอื่นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเรา แต่ถึงแม้ว่าโลกจะเปิดกว้างมากแค่ไหนกลุ่มคนที่เป็น LGBTQ+ ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่อาจจะยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิต อาจต้องเจอการกลั่นแกล้งไม่เว้นแม้แต่ในโรงเรียน

 

 

   การวิจัยกลุ่มเด็ก LGBTQ+ ในโรงเรียนมัธยมโดย Just Like Us[1] พบว่า

  •  มีนักเรียน LGBTQ+ เพียง 58% เท่านั้นที่รู้สึกปลอดภัยที่โรงเรียนเมื่อเทียบกับ 73% ของนักเรียนที่ไม่ใช่ LGBTQ+
  • 1 ใน 3 ของนักเรียน LGBTQ+ กล่าวว่ามีการรายการเรื่องการกลั่นแกล้งและบูลลี่ในโรงเรียนของพวกเขา
  • กลุ่ม LGBTQ+ มีแนวโน้มที่จะทำร้ายตัวเองมากกว่า 3 เท่าและมีแนวโน้มที่จะมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และตื่นตระหนกเป็น 2 เท่า
  • กลุ่ม LGBTQ+ 68% มีแนวโน้มที่จะคิดฆ่าตัวตายเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนรอบข้างที่ไม่ใช่ LGBTQ+

 

อักษรมีตัวอย่างของประเทศที่สร้างหลักสูตร นโยบาย และบังคับใช้กฎหมายในเชิงบวกและเชิงลบเพื่อสนับสนุนกลุ่ม LGBTQ+ ในโรงเรียนมาให้อ่านกัน

 

    สหรัฐอเมริกา

            กระแส LGBTQ+ ในสหรัฐฯ ถูกมองว่าได้รับการยอมรับและมีเสรีภาพอย่างมาก แต่หากมองเข้าไปให้ลึกยังมีบางพื้นที่ถูกจำกัดเรื่องนี้ ครูและนักการศึกษาบางแห่งถูกห้ามไม่ให้แสดงอัตลักษณ์ทางเพศของตนและหากพวกเขาแสดงตัวอาจผิดกฎหมายได้ ในบางพื้นที่มีการนำกฎหมายมาจำกัดสิทธิของกลุ่มเด็ก LGBTQ+ ในโรงเรียน ซึ่งในปี 2023 ที่ผ่านมามี 17 รัฐ[2] คือ นอร์ทดาโกตา เทนเนสซี อาร์คันซอ ฟลอริดา ไอโอวา เคนทักกี แคลิฟอร์เนียตอนเหนือ ยูทาห์ แอละแบมา ไอดาโฮ อินดีแอนา แคนซัส มิสซูรี มอนตานา โอคลาโฮมา เท็กซัส และไวโอมิง ที่รับนโยบายเกี่ยวกับ LGBTQ+ และบังคับใช้ ในโรงเรียนในปี 2024 นี้ ซึ่งข้อกำจัดที่เห็นตรงกันมากถึง 9 รัฐ คือ การห้ามนักกีฬาที่เป็น LGBTQ+ ในระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (K-12) และวิทยาลัยไม่ให้เล่นในทีมกีฬาที่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของตน รองลงมาคือเรื่องของการห้ามใช้ห้องน้ำที่ไม่ตรงกับเพศในใบเกิด 5 รัฐ ยังมีเรื่องของการห้ามสอนหัวข้อ LGBTQ+ ให้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีและห้ามให้ใช้สรรพนามที่ไม่สอดคล้องกับเพศตามใบเกิด ถึง 4 รัฐ นอกจากนี้ยังมีบางแห่งอย่างรัฐยูทาห์ที่มีข้อกำหนดให้โรงเรียนต้องให้ผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ทางเพศของบุตรอีกด้วย

 

สหราชอาณาจักร

            มีการเพิ่มเนื้อหาเข้ามาในหลักสูตรพื้นฐานของวิชาเพศศึกษาในโรงเรียน คือหลักสูตร RSHE ย่อมาจาก Relationships Education, Relationships and Sex Education (RSE) and Health Education[4] มีเป้าหมายที่ต้องการสอนให้เด็ก ๆ ได้รู้อยากรอบด้านเกี่ยวกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ในชีวิตของตนเองอย่างละเอียด และเสริมเรื่องของ LGBTQ+ เข้าไปด้วย ในเนื้อหาของ RSHE[5] ได้กำหนดให้โรงเรียนตรวจสอบให้แน่ใจว่าการสอนมีความเหมาะสมกับวัยและสามารถบูรณาการเข้ากับเด็ก ๆ ได้อย่างสมบูรณ์โดยเฉพาะในหลักสูตร LGBTQ+ โดยทำตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของพระราชบัญญัติความเสมอภาค 2010 (The Equality Act 2010 and schools: Departmental advice)

 

ในระดับประถมศึกษาจะสอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ดีและความเคารพ โดยเน้นไปที่เรื่องของครอบครัวและมิตรภาพรวมถึงความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ควบคู่ไปการมีสุขภาพที่ดีและในระดับมัธยมศึกษา การสอนจะต่อยอดไปที่การพัฒนาความเข้าใจด้านสุขภาพในประเด็นเสี่ยง เช่น ยาเสพติดและแอลกอฮอล์ แนะนำความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเพศสัมพันธ์ ตลอดจนวิธีมีความสัมพันธ์ทางเพศเชิงบวกที่ดีต่อสุขภาพ

 

 

แคนาดา

            เมื่อปี 2020 ในแคนาดา เคยมีการตั้งนโยบายหมายเลข 713[6] ในโรงเรียนโดยระบุว่าจะกำหนดให้นักเรียนต่ำกว่า 16 ปี ต้องใช้ชื่อและสรรพนามที่ตรงกับเพศสภาพหากนักเรียนไม่ต้องการต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองและควรไปพบนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เพื่อขอคำปรึกษา ซึ่งกฏข้อนี้ทำให้เด็ก LGBTQ+ ถูกมองว่าแปลกแยก ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ในโรงเรียน และในบางคนกลัวการถูกบังคับให้เปิดเผยกับผู้ปกครองก่อนที่พวกเขาจะพร้อม แต่ในเดือนมิถุนายน ปี 2023 ที่ผ่านมา รัฐบาลอนุรักษนิยมแบบก้าวหน้ารัฐนิวบรันสวิก นำโดยนายกรัฐมนตรีเบลน ฮิกส์ ประกาศว่ากำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศในโรงเรียนได้มีการแก้ไขข้อจำกัดหมายเลข 713 นี้ โดยให้เด็ก ๆ สามารถใช้ชื่อหรือสรรพนามอะไรก็ได้ตามที่ต้องการในโรงเรียนโดยที่ครูไม่จำเป็นต้องเปิดเผยกับผู้ปกครอง เรื่องนี้เป็นระดับรัฐก็จริง แต่ก็เกิดเสียงเรียกร้องในรัฐอื่น ๆ ตามมาเช่นกัน ถือเป็นเสียงสะท้อนที่ทำให้แน่ใจว่านักเรียน LGBTQ+ จะมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตรในโรงเรียน

 

 

               

ใน 24 ชั่วโมงเด็ก ๆ ใช้เวลาในโรงเรียนเฉลี่ย 8-9 ชั่วโมง/วัน ถือเป็น 1 ใน 3 ของเวลาทั้งหมด ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “โรงเรียน” มีส่วนสำคัญมากจริง ๆ กับพวกเขา

โดยเฉพาะคุณภาพสังคม เด็กกลุ่ม LGBTQ+ จะมองโลกในอนาคตเป็นแบบไหนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เจอ เพราะอย่างนี้นโยบายต่าง ๆ หลักสูตรการสอน

ที่เปิดกว้างเรื่องของ LGBTQ+ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสิ่งที่ดีให้กับเด็กทุกคนได้เปิดกว้างเรื่องความแตกต่างและเคารพซึ่งกันและกัน

 

คุณคิดว่าหลักสูตรเร่ือง    LGBTQ+ ของไทยต้องปรับอะไรบ้างและการศึกษาต้องไปในทิศทางไหน แลกเปลี่ยนไปด้วยกันกับอักษรครับ

 

 

         

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. Active Learning อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

 
 

 

 

 

 

Share

Relate article