เช็ก 7 มุมมองการจัดการเรียนรู้ ให้เด็ก ๆ ฉลาดรอบด้าน!
7 มุมมองการจัดการเรียนรู้ ให้เด็กฉลาดรอบด้าน
มุมมองข้อคิดดี ๆ เพจตามใจนักจิตวิทยา
ข้อที่ 1 "เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้ดี ต้องมีร่างกายที่พร้อมก่อนเสมอ"
- ขา-เท้า เดิน วิ่ง กระโดดขาคู่ ขาเดียว ไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
- แขนแกว่งไกว ปีนป่ายอย่างคล่องแคล่ว
- มือกำ หยิบ จับ โยน ขว้าง อย่างแม่นยำ
- นิ้วมือทั้งสิบ หยิบ หนีบ กด ฉีก ตัด อย่างแข็งแรง
พฤติกรรมเหล่านี้อย่ามองข้ามผ่าน! เพราะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านร่างกาย เพื่อให้พร้อมสู่การเรียนรู้ ด้านต่าง ๆ คุณครูจึงควรส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและการช่วยเหลือตัวเองของเด็ก ๆ เป็นสิ่งแรก (ก่อนที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการเขียนการอ่าน)
เทคนิค! เด็กปฐมวัยควรเล่นอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อวันพัฒนาการด้านร่างกายควรไปพร้อม ๆ กัน นั้นหมายถึง คุณครูควรพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่นการหยิบ จับ ขยำ ฉีก ต่าง ๆ ไปพร้อมกับพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การวิ่งเล่น กระโดดโลดเต้น เคลื่อนไหวร่างกายได้ตามวัย ซึ่งต้องเกิดจากการเล่นอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะพาเด็ก ๆ ไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือ จะเปิดเพลงร้อง เล่น เต้น รำ ก็ไม่ผิด แถมยังได้พัฒนาทักษะทางอารมณ์และสร้างการจดจำจากเนื้อเพลงที่ครูสามารถฝึกให้เด็กร้องและเต้น ซ้ำ ย้ำ บ่อย ๆ
ข้อที่ 2 การช่วยเหลือตัวเองตามวัย (Self-care)
ใครหลาย ๆ คนคงชอบให้เด็กของเราเก่ง โดยเฉพาะเก่งการขีดเขียน อ่าน ก-ฮ ได้ แต่จะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าเด็กกินข้าวเองไม่เป็น แต่งตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นทักษะการช่วยเหลือตัวเองขั้นพื้นฐานที่เด็กปฐมวัยทุกคนควรทำได้ก่อนพ้นวัย 6 ปีขึ้นไป ได้แก่...
- หยิบจับอาหารเข้าปาก และใช้ช้อน-ส้อมได้ตามวัย
- ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ติดกระดุม รูดซิป ตามวัย
- และการควบคุมการขับถ่ายเมื่อพร้อม
หลังจากทำกิจกรรมที่ให้เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองแล้ว คุณครูสามารถใช้กิจกรรมในหนังสือเสริมประสบการณ์ 4 สาระ ให้เด็กฝึกฝนและทบทวนกระบวนการคิด อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ฝึกทักษะการช่วยเหลือตัวเองขั้นพื้นฐานของเด็ก ๆ ซึ่งคุณครูสามารถประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของเด็ก ๆ ได้จากแบบประเมินท้ายหน่วย
ข้อที่ 3 การควบคุมตนเอง (Self-regulation)
เมื่อร่างกายแข็งแรง และสามารถควบคุมร่างกายได้ เด็กจะเริ่มควบคุมการกระทำของตนเอง เด็กจะมีความมั่นใจที่จะเรียนรู้หรือลองทำสิ่งใหม่ ๆ และยังสามารถนำไปสู่การมีสมาธิจดจ่อตามวัยได้ในที่สุด
เทคนิค! เสริมกิจกรรม พัฒนาทักษะทางสมองส่วนหน้า (EF)คุณครูสามารถหากิจกรรมเสริม ได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ กิจกรรมเรียนรู้ทางดนตรี การให้เด็กได้เล่นเครื่องดนตรี จับ เขย่า เคาะหรือตี แล้วทำกิจกรรมร่วมกัน โดยครูสามารถกำหนดเงื่อนไข หรือกติกา อย่างการฟังเสียงเครื่องดนตรีที่ครูเคาะว่าครูเคาะกี่ครั้ง แล้วให้เด็กเคาะตามจังหวะหรือเคาะตามครั้งที่คุณครูตี เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางสมอง (EF) ในการมีสมาธิจดจ่อ รู้จักยับยั้งชั่งใจในการรอคอย เป็นต้น
ข้อที่ 4 เรียนรู้ผ่านการเลียนแบบและลงมือทำ
การเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ คือการได้ดูแม่แบบในชีวิตจริงและการสอนผ่านการลงมือปฏิบัติไปพร้อมกับการได้ลงมือทำกับคุณครู ไม่ใช่ผ่านการฟัง หรือ จากการดูในสื่อหน้าจอต่าง ๆ การได้ลงมือทำในชีวิตจริง เด็กจะมีสมาธิ และจดจ่อได้ดีกว่า
มักจะมีข้อเสียมากกว่าข้อดีที่ได้รับมา เนื่องจากสมองส่วนหน้า (Pre-frontal cortex) ของเด็กวัยนี้ยังเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งสมองส่วนนี้ควบคุมเรื่องของการควบคุมตัวเอง (Self-regulation) ส่งผลโดยตรงกับการควบคุมตัวเองในเด็ก ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กมีแนวโน้มจะติดหน้าจอได้มากกว่าผู้ใหญ่
ข้อที่ 5 ทักษะการสื่อสาร การพูดและการฟัง
เด็ก ๆ ควรเรียนรู้การสื่อสารอย่างเหมาะสม เช่นในสถานการณ์ที่เด็ก ๆ ทำอะไรไม่ได้ด้วยตนเอง เด็ก ๆ ต้องสามารถ “บอกความต้องการ” “บอกปฏิเสธ” และ “ขอความช่วยเหลือ” ได้
ส่วนในเรื่องของการฟัง เด็กวัย 2-3 ปีขึ้นไปควรเข้าใจคำสั่งอย่างง่าย 2 ขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวกัน เช่น เอาบอลมาให้คุณครู ป้อนข้าวน้องตุ๊กตา อันไหนใหญ่ ใครอยู่ที่ไหน เป็นต้น หรือในเด็กวัย 4 ปี ต้องเริ่มมีเหตุผล เริ่มประนีประนอมกับเพื่อนได้
เทคนิค! การอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง คือ การส่งเสริมทักษะการฟังและเพิ่มคลังคำศัพท์ให้เด็ก ๆ อย่างมากมายข้อที่ 6 เรียนรู้เรื่องอารมณ์
เด็กปฐมวัย สามารถเริ่มเรียนรู้อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ เศร้า ดีใจ เสียใจ หรือกลัว ได้ตั้งแต่เขาเริ่มสื่อสาร และจะเรียนรู้อารมณ์ต่าง ๆ ที่ละเอียดขึ้นในวัยต่อ ๆ มา ยิ่งเด็กได้เรียนรู้ว่า “ตนเองนั้นรู้สึกอย่างไรอยู่” จะนำไปสู่การเข้าใจตนเอง และการแสดงออกที่เหมาะสมกับวัยมากขึ้น
เราสามารถสอนเรื่องอารมณ์ผ่านการเล่านิทาน ผ่านการแสดงสีหน้า หรือ เล่นบทบาทสมมติ ช่วยให้เด็ก ๆ รู้จักและแสดงออกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
ข้อที่ 7 ความพยายามและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค
สุดท้ายแม้เด็กจะเรียนรู้ได้เร็ว แต่ถ้าเจออุปสรรค แล้วไม่สามารถข้ามผ่านไปได้ เด็กบางคนเลือกที่จะยอมแพ้ทันที ดังนั้นการสอนเด็กให้พยายามและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตลอดไป
เทคนิค! เราสามารถสร้างทัศนคตินี้ได้- ชื่นชมที่ความตั้งใจของเด็กมากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมา
- แพ้ชนะไม่สำคัญเท่ากับว่าเขาได้เรียนรู้อะไรในตอนท้าย หรือ เขาทำอะไรได้มากขึ้น
- อย่าประเมินเด็กเพื่อวัดลำดับที่ แต่ให้ประเมินเพื่อจะเติมเต็ม และผลคะแนนหรือเกรด ไม่ควรสำคัญเท่ากับ เด็กคนนี้ทำอะไรได้ และมีอะไรที่เราสามารถเติมเต็มให้เขาได้
- ไม่เปรียบเทียบเด็กกับใคร เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทุกคนมีข้อดีของตัวเอง
- การสอบหรือการแข่งขัน ควรทำเมื่อเด็กพร้อม
ไม่มีเด็กคนใดที่ควรโดนตัดสินว่า เขาดีหรือไม่ดีพอ ผ่านความคาดหวังของผู้ใหญ่เพียงกลุ่มเดียว ฉะนั้นคุณครูไม่ควรสร้างทัศนคติทางลบให้กับเด็ก ควรส่งเสริมให้เด็กเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในขั้นที่สูงขึ้นต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง