Education 4.0 กับความสำคัญที่ 'ทักษะต้องมาก่อน'
Education 4.0 กับความสำคัญที่ 'ทักษะต้องมาก่อน'
จากการเปลี่ยนแปลงของโลก Education 4.0 จึงเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเพราะ ‘ทักษะต้องมาก่อน’
สังคมโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ความไม่เท่าเทียมเพิ่มมากขึ้น ข้อมูลต่าง ๆ ถูกบิดเบือนไป และความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ซึ่งเราอาจเห็นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงกันอยู่บ้าง และด้วยเหตุผลนี้ เมื่อ ‘ทักษะต้องมาก่อน’ การสอนตามแบบ Education 4.0 จึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ
จากข้อมูลของ World Economic Forum ผู้อยู่เบื้องหลังการวางรากฐาน และความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการพลิกโฉมระบบการศึกษา ระบุว่า การเรียนรู้ของ Education 4.0 คือ การสร้างทักษะ ทัศนคติ และค่านิยม ที่ควรเริ่มต้นตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมสำหรับการปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกในอนาคต
ในอดีตระบบการศึกษาทั่วโลก เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้เป็นหลัก และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น โดยสิ่งนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน มีน้ำใจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนรู้จักคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา เพราะทักษะเหล่านี้มีความสำคัญต่อการนำไปใช้ชีวิตจริง พร้อมเป็นที่ต้องการต่อตลาดแรงงาน และสังคมโลกอีกด้วย
“The future of education lies in empowering young learners to embrace and develop their uniquely human qualities – those unlikely to ever be replaced by technology.”
“อนาคตของการศึกษาอยู่ที่การเสริมศักยภาพให้เยาวชนยอมรับ และพัฒนาตนเองให้โดดเด่น เพื่อทดแทนความไม่แน่นอนที่อาจถูกทดแทนที่ด้วยเทคโนโลยี”
— World Economic Forum, Defining Education 4.0: A Taxonomy for the Future of Learning Report.
สร้างความเข้าใจร่วมกัน เพื่อพัฒนาทักษะ Education 4.0
การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และสถานศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะของผู้เรียน เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างการศึกษา และธุรกิจในสังคมโลกเข้าด้วยกัน
การจำแนกทักษะ Education 4.0 ถูกสร้างจากความถนัด 3 ประการ คือ
(1) ความสามารถและทักษะ
(2) ทัศนคติและค่านิยม
(3) ความรู้และข้อมูล ในปัจจุบันเนื่องจากเหล่านายจ้างระบุว่า “ทักษะเหล่านี้คือสิ่งสำคัญที่สุด”
ในการทำงานจริง โดยลงลึกในข้อที่ 1 และ 2 เป็นพิเศษ จึงได้แบ่งความถนัดให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ตัวอย่าง เช่น ความสามารถและทักษะ จะถูกแบ่งออกเป็น ทักษะทางด้านการรับรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ และทางกายภาพ
ต่อมาการรับรู้ก็จะถูกแบ่งเป็น การคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะทางดิจิทัลและการเขียนโปรแกรม และด้านอื่น ๆ การปรับปรุงใหม่ของโครงสร้างนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจระหว่างการศึกษาและธุรกิจในสังคมโลกว่าพวกเขากำลังพูดถึงทักษะ และมองไปในทิศทางเดียวกัน
รูปภาพ
ความสามารถและทักษะ เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่ในทางกลับกัน ทัศนคติและค่านิยม คือ ความเชื่อที่บ่งบอกพฤติกรรมในการควบคุมตนเอง เช่น แรงจูงใจ การมีส่วนร่วมกับสังคม ทัศนคติในการทำบางสิ่งบางอย่าง และการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักความยืดหยุ่นเพื่อเอาชนะความท้าทายในการแก้ปัญหา รู้จักใช้เหตุผลมากกว่าการหลอกลวง ความรุนแรง ดังนั้นการสอนผู้เรียนเรื่องทัศนคติและค่านิยมจึงช่วยให้ผู้เรียนปรับตัวได้ตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองโลกที่มีความ Active อยู่ตลอดเวลา
อานุภาพของ Education 4.0 สอนผ่านความท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริง
ความถนัดเป็นเรื่องของนามธรรม การสอนแยกกันให้ตรงตามความถนัดจึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการสอนโดยให้ ‘ทักษะมาก่อน’ จึงมีที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ซึ่ง The Education 4.0 Taxonomy เป็นการสอนจากกรณีศึกษาที่เป็นรูปธรรม หรือปัญหาจากสถานการณ์จริงที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะหลากหลายด้านพร้อมกัน รวมถึงการเรียนรู้ผ่านการเล่น นับเป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยส่งเสริมทักษะ ผสมผสานค่านิยมให้สัมพันธ์กับโลกความเป็นจริง และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อ้างอิง
บทความที่เกี่ยวข้อง