เปิดเทอมวันแรกกับเคล็ดลับสร้างความประทับใจ

 

เปิดเทอมวันแรกกับเคล็ดลับสร้างความประทับใจ

 
 
ภาพปกบทความเรื่อง Education 4.0 กับความสำคัญที่ 'ทักษะต้องมาก่อน'

 

เสียงกริ่งเปิดเทอมวันแรกกำลังจะมาถึง

ขอต้อนรับการกลับสู่เข้าห้องเรียนอีกครั้ง ครูเตรียมพร้อมกันไว้หรือยัง สำหรับการสร้างความประทับใจในวันแรกของการเปิดเทอมที่ใกล้จะถึงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยแนะนำตัวหน้าห้องเรียน หรือคาบแรกของการสอนที่บรรจุความรู้ไว้อย่างเต็มเปี่ยม เชื่อว่าเปิดเทอมวันแรกของหลาย ๆ โรงเรียนน่าจะวุ่นกันสุด ๆ หากมีเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์พร้อมช่วยให้ครูได้เตรียมตัวสำหรับการเปิดเทอมวันแรก อาจจะลดความกังวล ความเครียด และสามารถสร้างความประทับใจตั้งแต่วันแรกเลยก็ได้

 

เคล็ดลับการสร้างความประทับใจต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างครู และนักเรียน

จัดระเบียบห้องเรียนของครูให้พร้อม

ก่อนเปิดเทอมวันแรกครูต้องเตรียมตัว สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง นั่นคือ “ห้องเรียน” ควรจัดและตกแต่งสร้างห้องเรียนให้อบอุ่น มีบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ดี เอื้อต่อการเปิดสมองเพื่อเป็นการส่งเสริมกระตุ้นการเรียนรู้ในระหว่างเรียนให้ดียิ่งขึ้น

  • ทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถู โต๊ะ เก้าอี้ กระดาน ประตู หน้าต่าง ฯลฯ ต้อนรับการเปิดเทอมวันแรก ดูแลสุขอนามัยของนักเรียน เมื่อสถานที่สะอาดก็สามารถสร้างความสุขต่อการเรียนการสอนที่ดี
  • การจัดบอร์ด ห้องเรียนที่ดีต้องมีสีสันที่ทำให้ผู้เรียนอยากอยู่ไปนาน ๆ ลองจัดระเบียบของพื้นที่ที่มี สร้างเรื่องราวที่แปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบอร์ดที่ให้ความรู้เชิงสร้างสรรค์ ความรู้รอบตัวที่ไม่อิงวิชาการจนเกินไป หรือบอร์ดที่ชวนสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ในห้องเรียน หรือแม้แต่บอร์ดที่มีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เช่น บอร์ดรายชื่อนักเรียน สามารถสร้างธีมใหม่ให้มีสไตล์เหมาะสมกับวัยของนักเรียนในชั้นนั้น ๆ

 

วางแผนการสอน มุ่งเป้าหมายสู่ความสำเร็จการให้ความรู้

วางแผนดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ก่อนเปิดเทอมควรกำหนดทิศทางวางแผนการสอนกับบทเรียนที่ต้องใช้ จัดวางช่วงเวลาของการสอนให้แม่นยำ มีแผนการสอนรายสัปดาห์ มีแบบบันทึกผลการประเมิน และการวางแผนเป้าหมายการสร้างสมรรถนะของนักเรียน หากครูมีแผนการสอนที่ดี ครอบคลุม และชัดเจน ก็สามารถทำให้เปิดเทอมวันแรกของครู สร้างความมั่นใจพร้อมที่จะลงสนามถ่ายทอดความรู้ และมีประสิทธิภาพการสอนที่ดียิ่งขึ้น

 

กิจกรรมในคาบแรก ผูกมิตร กระชับความสัมพันธ์

ครูเริ่มสอนตามขั้นตอนในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการมาโรงเรียนวันแรก ควรมีกิจกรรมในชั่วโมงแรกของการกลับสู่ห้องเรียนเพื่อปรับสภาพจิตใจ อาจเริ่มต้นได้จากการชวนคุย เช่น ปิดเทอมที่ผ่านมานักเรียนทำอะไรกันมาบ้าง ชวนบอกเล่าความรู้สึก แชร์ประสบการณ์ที่พบเจอให้เพื่อน ๆ ในห้องเรียนได้ฟัง โดยครูให้ความเป็นกันเอง ตั้งใจฟังในเรื่องราวที่นักเรียนกำลังถ่ายทอด หรือครูเองสามารถเล่าเรื่องราวของตนเองได้เช่นกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดการสร้างความเชื่อใจ และความเป็นกันเองกับนักเรียนทุกคนได้ดีอีกด้วย

 

รอยยิ้มและวาจา สร้างความประทับใจแรกพบ

First Impression จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ดี ๆ สิ่งที่จะช่วยเสริมพลังกายและใจให้กับนักเรียนตั้งแต่เปิดเทอมวันแรก นั่นคือ รอยยิ้ม สัญลักษณ์ของความเป็นมิตร ครูมีใบหน้าที่สดชื่น ยิ้มแย้ม มีวาจาทักทายอย่างเป็นกันเอง ขจัดช่องว่างระยะห่าง ถึงแม้ว่าช่วงเวลาก่อนหน้านั้นครูอาจมีความกังวลในจิตใจก็ตาม หากปรับเปลี่ยนอารมณ์พร้อมขจัดความขุ่นมัวก่อนมาโรงเรียนได้ ควรสร้างรอยยิ้มพร้อมอ้าแขนโอบรับนักเรียนใหม่ที่ต้องดูแล

 

อย่าลืมแบ่งเวลาให้ตัวเอง สำรวจความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ

สรุปตามก่อนที่จะสร้างความสุขให้กับใคร อย่าลืมสร้างความสุขให้ตัวเองก่อน หากความสุขอยู่กับตัวเราแล้ว เราจะถ่ายทอดและแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ดี ในช่วงเวลาที่ใกล้จะเปิดเทอมนี้ หากิจกรรมที่ทำให้ครูผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล ใช้เวลาที่มีทำสิ่งที่ตัวเองชอบเพื่อช่วยเติมพลังสุขภาพจิต หลีกเลี่ยงภาวะ Burn Out ได้ หาเวลาออกกำลังกาย หาหนังสือดี ๆ สักเล่มอ่าน นั่งสมาธิ หรือทานอาหารอร่อย ๆ เป็นต้น เมื่อเราได้สร้างความแข็งแรงทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายดูแลตัวเองเตรียมตัวให้พร้อมแล้ว เปิดเทอมวันแรกของครูนั้นจะเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังพร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ของการสอนอีกครั้ง

 

ทัศนคติที่ดี ช่วยสร้างอาชีพครูให้มีประสิทธิภาพ

อาชีพครูที่ต้องคอยซัปพอร์ตนักเรียนให้ไปสู่ฝั่งฝัน แบกรับหน้าที่ความรับผิดชอบสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนในทุกเรื่อง ดูแล ใส่ใจ มีความห่วงใย มีความเมตตาอย่างแท้จริง มีความกระตือรือร้นในการกระตุ้นความคิด กระตุ้นทักษะที่นักเรียนควรมี มอบโอกาสการเรียนรู้แนะนำแนวทางสู่ความสำเร็จ ซึ่งทั้งหมดนี้คือจิตวิญญาณของความเป็นครู ให้วันแรกของการเปิดเทอมใหม่นี้ ต้อนรับนักเรียนอย่างมีความสุข มีการสอนที่ราบรื่นสู่เป้าหมายที่ครูทุกท่านตั้งใจไว้

 


ขอบคุณข้อมูลจาก

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง