รวมผลลัพธ์การเรียนรู้ หลักสูตรฐานสมรรถนะ ใน 7 สาระการเรียนรู้

รวมผลลัพธ์การเรียนรู้ หลักสูตรฐานสมรรถนะ ใน 7 สาระการเรียนรู้

  • ภาษาไทย

    1. ตั้งใจฟังและดูเพื่อทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นจนจบ และกล้าแสดงออกถึงความเข้าใจ หรือไม่เข้าใจอย่างเหมาะสม
    2. พูดสื่อสารในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ
    3. สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
    4. ตั้งใจอ่าน และอ่านออกเสียงด้วยความมั่นใจอย่างถูกต้อง ชัดเจน คล่องแคล่ว
    5. เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน และสรุปความรู้และข้อคิดที่ได้จากการอ่านสื่อต่าง ๆ
    6. อ่านเรื่องตามความสนใจ และมีนิสัยรักการอ่าน
    7. เขียนคำ ประโยค และเรื่องราวสั้น ๆ ที่แสดงออกถึงความสนใจ ความคิด ความรู้สึก อย่างอิสระ และมีจินตนาการ
    8. เขียนสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ชัดเจน ตรงตามวัตถุประสงค์ เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ
    9. ใช้ภาษาไทยในการพูดและการเขียนได้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ
    10. มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

  • สุขศึกษาและพลศึกษา

    1. ปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ ดูแลสุขอนามัยทางเพศ ทำกิจวัตรประจำวันกิน นอน พักผ่อน เล่น และกิจกรรมนันทนาการที่พัฒนา อารมณ์ และสังคมอย่างเหมาะสมตามวัย ดู ฟัง อ่าน แลกเปลี่ยน และใช้ ข้อมูลด้านสุขภาพจากสื่อสารสนเทศที่เหมาะสมตามวัย บอกผลของทางเลือกที่ตัดสินใจที่อาจเกิดขึ้น ในแง่บวกและแง่ลบกับสุขภาพกายและจิตของตนเอง เพื่อสร้างนิสัยการดูแลสุขภาพที่ดีของตนเอง
    2. ระมัดระวัง ดูแลและป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากอาการเจ็บป่วยหรือโรคภัยต่าง ๆ อย่างเหมาะสมตามวัยและสุขภาพรายบุคคล
    3. หลีกเลี่ยงการนำตนเองไปอยู่ในสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเอง และผู้อื่น ปฏิบัติตนตามคำแนะนำ และตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่ไว้วางใจอย่างเหมาะสม เมื่อมี อาการเจ็บป่วยหรือโรคภัยต่าง ๆ บาดเจ็บ จากอุบัติเหตุ หรือเหตุร้าย
    4. สำรวจตนเอง และบอกความคิดความต้องการ ความรู้สึก จุดเด่น จุดด้อย และข้อจำกัด ของตนเองในการทำกิจกรรม ในชีวิตประจำวัน ทั้งส่วนตัวและร่วมกับผู้อื่น และปรับปรุงพัฒนาตนเองให้เกิดความมั่นใจ และความภาคภูมิใจ
    5. สังเกตอารมณ์ พฤติกรรม ความรู้สึกของตนเองและบุคคลรอบข้าง แสดงออกด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม ตามสถานการณ์อย่างมีเหตุผล รับรู้และหลีกเลี่ยงภาวะ หรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือ ความไม่สบายใจ ไม่ทำร้ายตนเอง ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำลายข้าวของ ไม่ตอบโต้ด้วยวิธีการที่รุนแรง ขอความช่วยเหลือ คำปรึกษาคำแนะนำจากผู้ใหญ่ที่ไว้วางใจ
    6. มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสุขภาพร่วมกับครอบครัวและกลุ่มเพื่อนอย่างมีความสุข และมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น
    7. เคลื่อนไหวร่างกายได้สัมพันธ์กัน มีทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและหลากหลายรูปแบบ ทั้งมีอุปกรณ์และไม่มีอุปกรณ์อย่างมีสติด้วยความแรง ระยะทาง หรือมีความแม่นยำในบริบทที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
    8. เล่นเกม เล่นการละเล่นพื้นเมือง และออกกำลังกาย และเล่นกีฬา เป็นประจำสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ด้วยความสนุกสนาน ปลอดภัย และรักษาสิ่งแวดล้อม
    9.เล่นร่วมกันกับเพื่อนโดยรับรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของทีม ร่วมวางแผนเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จ มีน้ำใจ นักกีฬา เคารพกฎกติกา มารยาท และข้อตกลงร่วมกัน ทั้งการเล่นประเภทเดี่ยวและประเภททีม สวมบทบาทเป็นผู้เล่น และผู้ร่วมจัดกิจกรรมด้วยความรับผิดชอบ

  • ศิลปะ

    1. สัมผัสถึงสุนทรียภาพ รับรู้ความงาม เกิดความประทับใจ และชื่นชม มีแรงบันดาลใจในการถ่ายทอด เป็นงานศิลปะ และใช้ภาษาเชื่อมโยงรูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ด้วยงานทัศนศิลป์ดนตรี และนาฏศิลป์
    2. สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ที่ตนเองชื่นชอบ ถ่ายทอด ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ สะท้อนถึงธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เรื่องราวใกล้ตัว ในชีวิตประจำวันที่เชื่อมโยงกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน และท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง วัสดุ อุปกรณ์และสีด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
    3. ร้องเพลงได้อย่างสอดคล้องกับอารมณ์ของเพลงที่ฟัง เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของ เสียงที่มาจากแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ และใช้รูปภาพ หรือสัญลักษณ์แทนเสียง และจังหวะเคาะ อย่างเหมาะสม
    4. บรรเลงดนตรีง่าย ๆ ด้วยเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ทั้งไทย สากล หรือของท้องถิ่น ด้วยความมั่นใจ และมีความไพเราะ สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเสียงดนตรีของตนเองและผู้อื่น ด้วยความสุภาพ และเป็นประโยชน์
    5. สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบการแสดงต่าง ๆ อย่างมีความสุข แสดงท่าทางง่าย ๆ อย่างมั่นใจ และ งดงาม สื่อความหมายแทนคำพูด และแสดงการเคลื่อนไหวที่สะท้อนอารมณ์ของตนเองในรูปแบบการแสดงต่าง ๆ เช่น นาฏศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน ในท้องถิ่นที่ตนเองชื่นชอบ อย่างอิสระ สนุกสนาน และเหมาะสมกับวัย
    6. แสดงออกถึงการรับรู้และชื่นชมความงาม และแสดงอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ความประทับใจ และ นำเสนอผลงานศิลปะด้วยความมั่นใจ สามารถวิเคราะห์ วิพากษ์ แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับงานศิลปะ ทั้งของตนเองและของผู้อื่น อย่างสุภาพ รับฟัง และปรับปรุงผลงานของตนให้สมบูรณ์
    7. เชื่อมโยงผลงานศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) กับวัฒนธรรมชีวิตประจำวันเป็นสื่อแสดงความงาม ได้อย่างอิสระ รวมทั้งการร่วมสร้างงานศิลปะเพื่อชุมชนท้องถิ่น อนุรักษ์สืบสานเทคนิคครูช่างภูมิปัญญาไทย

  • สังคมศึกษา ฯ

    1. นำเสนอเรื่องราวของตนเอง บุคคล วัตถุ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ประวัติ ความเป็นมา และวิถีชีวิต ลำดับเวลาและเหตุการณ์สำคัญ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบัน และอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อวิถีชีวิตของตนและคนในชุมชน โดยแสดงหลักฐาน และ แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยภาพและภาษาของตนเองที่เข้าใจง่าย ชัดเจน จากการสอบถาม ค้นหาคำตอบ อย่างเป็นขั้นตอน และทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่แสดงถึงความตระหนักของผลการกระทำในอดีตที่มี ต่อปัจจุบันและผลของการกระทำในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต ด้วยความรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของ ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน
    2. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่ง ระยะและทิศทางของสิ่งต่างๆ และสถานที่ โดยประยุกต์ใช้แผนที่ แผนผัง รูปถ่าย เพื่อการวางแผนการทำงาน การใช้ชีวิต และการร่วมจัดระเบียบและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่บ้าน ห้องเรียน โรงเรียน และชุมชน ด้วยความตระหนักในเหตุและผลของการกระทำของตนเองและคนในชุมชน ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่
    3. ทำกิจกรรมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีมารยาท บนพื้นฐานของหลักปฏิบัติในศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตน ตามบทบาทหน้าที่ ยอมรับข้อตกลง กฎ กติกาที่สร้างร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาหรือความขัดแย้งในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเต็มใจเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของครอบครัว ชั้นเรียน และโรงเรียน
    4. ปฏิบัติตนบนพื้นฐานสิทธิของตน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ปฏิเสธเพื่อไม่ให้ตนถูกรังแก หรือละเมิด สิทธิเสรีภาพ ทั้งร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน และแจ้งผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง แสดงพฤติกรรมเชิงบวก ทั้งทางกาย และวาจาเมื่อร่วมกิจกรรมหรือทำงานกับผู้อื่น ที่แสดงถึงการยอมรับความคิด ความเชื่อและการปฏิบัติ ของบุคคลอื่นที่แตกต่างกันโดยปราศจากอคติ และการเหมารวม รวมทั้งไม่กลั่นแกล้งเพื่อน (Bullying) ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตน ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
    5. ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวในการระบุสาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปสู่การแยกแยะความต้องการ และความจำเป็น วางแผนการใช้จ่าย และออมเงินอย่างเหมาะสมและมีวินัย เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ด้วยกันในการลดค่าใช้จ่าย
    6. ระมัดระวังในการใช้ของส่วนรวมและทรัพยากรในการทำงาน การทำกิจกรรม การทำกิจวัตรประจำวัน อย่างประหยัด คุ้มค่า และพอเพียง ด้วยความตระหนักถึงผลของการใช้ทรัพยากรที่มีต่อตนเอง ครอบครัว และโรงเรียน
    7. เข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนอย่างเห็นคุณค่าและไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    8. ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องที่แสดงถึงการเคารพสถาบันหลักและสัญลักษณ์ของชาติไทย และร่วมกิจกรรม ที่ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมตามกำลังของตนภายใต้การดูแลและคำแนะนำ

  • วิทยาศาสตร์

    1. ปฏิบัติตนในการใช้ดินและน้ำในการทำกิจวัตรต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เกี่ยวกับลักษณะและสมบัติ และประโยชน์ของดินและน้ำ
    2. สื่อสารวิธีปฏิบัติตน และตระหนักถึงการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยภาพ หรือภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน โดยใช้เทคโนโลยีในการค้นหาข้อมูล และนำเสนอข้อมูล
    3. ตระหนักถึงสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ โดยใช้ความรู้เพื่อบอกแนวทางการดูแลพืช และสัตว์ให้เจริญเติบเติบโต แข็งแรง และดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
    4. เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมโดยเสนอแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของ พืชและสัตว์ ด้วยภาพ หรือภาษาของตนเองที่เข้าใจง่าย ชัดเจน
    5. อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก เช่น กลางวัน กลางคืน การขึ้นและตกของ ดวงอาทิตย์และการกำหนดทิศด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์
    6. กำหนดทิศทางบนแผนที่โดยประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์และการกำหนดทิศ
    7. สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับการเกิดลม บอกประโยชน์และโทษของลมต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
    8. วางแผนการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากวาตภัยและอุทกภัย โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับลักษณะของภัยธรรมชาติ
    9. สร้างคำอธิบายเกี่ยวกับแรง ผลของแรงที่มีต่อวัตถุต่าง ๆ และแรงแม่เหล็ก ที่พบในกิจกรรม หรือ สถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
    10. เลือกใช้วัสดุในชีวิตประจำวันโดยตามสมบัติของวัสดุอย่างมีเหตุผล
    11. ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง แรง ผลของแรงที่มีต่อวัตถุต่าง ๆ แรงแม่เหล็ก หรือสมบัติของวัสดุ เพื่อแก้ปัญหา หรือสร้างของเล่น ของใช้อย่างง่าย
    12. แก้ปัญหาอย่างง่าย หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างมีขั้นตอน แสดงวิธีการหาคำตอบ หรือ วิธีแก้ปัญหาระบุเหตุผลที่นำไปสู่คำตอบ มีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาให้สำเร็จ
    13. ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล และสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและ ปลอดภัย สร้างของเล่น หรือของใช้เพื่อแก้ปัญหาตามความสนใจ เลือกและใช้สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ตามหน้าที่ใช้สอยได้อย่างปลอดภัย

  • ภาษาอังกฤษ

    1. ฟัง พูด คำศัพท์ สะกดคำ บอกความหมาย อ่านกลุ่มคำภาษาอังกฤษอย่างง่ายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว และโรงเรียนโดยออกเสียงภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
    2. ฟัง พูด โต้ตอบ บอกความต้องการของตนเอง แลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูลด้วยคำสั้นและง่ายเกี่ยวกับ เรื่องราวของตนเอง ครอบครัว เพื่อน เหตุการณ์ในสถานการณ์ใกล้ตัวในชีวิตประจำวันและปฏิบัติตาม ได้อย่างเหมาะสมและมั่นใจ
    3. ฟัง อ่าน และดู เพื่อเรียนรู้เนื้อหาในสิ่งที่สนใจ เรื่องหรือเหตุการณ์จากสื่อวีดิทัศน์นิทาน เรื่องสั้น โฆษณา แล้วเลือกใช้คำหรือประโยคอย่างง่าย เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์หรือ เรื่องราวนั้น ๆ อย่างเหมาะสม 63
    4. อ่านและสร้างประโยคอย่างง่ายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว เพื่อน เหตุการณ์ในสถานการณ์ใกล้ตัว จากนิทาน เรื่องสั้น โฆษณา แล้วโต้ตอบ สื่อความหมายและปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสม
    5. อ่านเพื่อเรียนรู้ เข้าใจ และบอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเนื้อหาที่สนใจและเหมาะสมจากการอ่าน นิทานเรื่องโปรด เพลงโปรด ภาพยนตร์และการ์ตูนเรื่องโปรด
    6. เขียนและสร้างประโยคอย่างง่ายที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอข้อมูล แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อบอกอารมณ์ ความรู้สึกอย่างอิสระและมีจินตนาการเกี่ยวกับตนเอง บุคคล และสถานการณ์ใกล้ตัว ผ่านภาษาและภาพที่เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ
    7. ใช้ทักษะการเขียน โดยแสดงความคิดเห็นหรือสะท้อนความรู้สึกที่ใช้คำหรือประโยคอย่างง่ายเพื่อเรียนรู้ เนื้อหาในสิ่งที่สนใจจากนิทาน วีดิทัศน์บทความและข่าวสารอย่างง่าย เกม สื่อแอปพลิเคชันทางการ เรียนรู้ที่หลากหลายอย่างเหมาะสม
    8. สนทนา เข้าใจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างง่ายในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อสื่อสารความต้องการ ของตนเองในสถานการณ์ใกล้ตัว ครอบครัว ห้องเรียน และโรงเรียน
    9. แสวงหาความรู้ และสร้างสรรค์ผลงานทางภาษาโดยการประดิษฐ์ชิ้นงานที่สะท้อนการเรียนรู้ตามความถนัด และความสนใจของตนเองให้เหมาะกับบุคคล เหตุการณ์และสถานการณ์รอบตัว

  • คณิตศาสตร์

    1. สื่อสาร สื่อความหมายเกี่ยวกับจำนวนนับ และเศษส่วนอย่างง่ายได้อย่างถูกต้อง และนำไปใช้ ในสถานการณ์ต่าง ๆ
    2. อธิบายความสัมพันธ์ของจำนวนโดยใช้การรวม (compose) หรือการแยก (decompose) ของจำนวน เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวน
    3. อธิบายความสัมพันธ์ของแบบรูปซ้ำของจำนวน รูปเรขาคณิตและรูปอื่น ๆ และแบบรูปของจำนวนนับ ที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงทีละเท่า ๆ กัน สร้างข้อสรุป และขยายแนวคิดเพื่อสร้างแบบรูปและแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ
    4. เข้าใจสถานการณ์ในชีวิตจริงที่จะนำการบวก การลบ การคูณ และการหาร มาใช้ได้อย่างเหมาะสม คำนวณและเลือกใช้เครื่องมือในการบวก การลบ การคูณ และการหาร โดยเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ และสมบัติต่าง ๆ ของการดำเนินการได้อย่างคล่องแคล่ว และแปลความหมายภาษาและสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์เป็นสถานการณ์ในชีวิตจริง
    5. แก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนนับและเศษส่วนในสถานการณ์ต่าง ๆ
    6. เข้าใจสถานการณ์ในชีวิตจริงที่จะเปรียบเทียบขนาด ปริมาณและปริมาตร เข้าใจความหมายของ หน่วยการวัด เลือกใช้หน่วยการวัดและเครื่องวัดเพื่อวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตรได้อย่าง เหมาะสม
    7. สื่อสารเกี่ยวกับเวลา ระยะเวลา ได้ถูกต้อง โดยเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในชีวิตจริง
    8. สื่อสารเกี่ยวกับเงิน เปรียบเทียบจำนวนเงิน แลกเงิน และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
    9. แก้ปัญหาเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก และปริมาตร เวลา เงิน ในสถานการณ์ต่าง ๆ
    10. รับรู้รูปร่าง ลักษณะของรูปร่างต่าง ๆ จากสิ่งของ สิ่งแวดล้อมรอบตัว สถานการณ์ในชีวิตจริง ผ่านการสังเกต และการสร้างรูปร่าง เชื่อมโยงสู่ลักษณะของรูปเรขาคณิต สองมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติ
    11. ให้เหตุผลในการจำแนกและบอกลักษณะของรูปเรขาคณิตสองมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปที่มี แกนสมมาตร และนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
    12. จัดการข้อมูล และนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิแท่ง หรือตารางทางเดียว สื่อสาร แปลความหมายของข้อมูล และใช้ข้อมูลเพื่ออธิบายเหตุการณ์ ตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
    13. แก้ปัญหาทางสถิติในสถานการณ์ใกล้ตัว

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง