ฝึกลากเส้น เน้นลีลามือ ให้เด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัย

 

ฝึกลากเส้น เน้นลีลามือให้เด็กปฐมวัย

 

 

  • การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย เป็นหนึ่งในพัฒนาการ 4 ด้านที่เด็กต้องเรียนรู้ 
  • การลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น ฝึกซ้ำบ่อย ๆ จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคุ้นเคย 
  • การจับดินสอของเด็ก ๆ ครูปฐมวัยไม่ควรมองข้าม การจับดินสอให้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อพื้นฐานการเขียนของพวกเขา

 

วันนี้เราจะขอเน้นที่เทคนิคพื้นฐานเรื่องการฝึกลีลามือ คุณครูปฐมวัยสามารถจะนำไปปรับใช้ให้กับเด็ก ๆ หรือหากทราบวิธีนี้แล้ว

ลองมาทบทวนไปพร้อมกัน ว่าการฝึกลีลามือนั้น มีความสำคัญต่อเด็ก ๆ ของคุณครูมากน้อยขนาดไหน

 


 

การฝึกลีลามือ เริ่มต้นจากอะไรก่อนดี?
การฝึกลีลามือสำหรับ
เด็กปฐมวัยนั้น คุณครูแต่ละท่านอาจมีเทคนิคให้เด็กได้เรียนรู้แตกต่างกันไป โดยเด็กอาจต้องฝึกตั้งแต่การลากเส้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่คุณครูรู้จักกันดี คือการลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่การให้เด็กได้ใช้นิ้วมือลากเส้น แล้วใช้สีเทียนลากเส้นหรือระบายสีอย่างอิสระ

ให้ได้ฝึกซ้ำบ่อย ๆ จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคุ้นเคย หลังจากนั้น

คุณครูอาจจะหาดินสอหรือหรือสีเทียนด้ามอ้วน ลากตามเส้นพื้นฐาน 13 เส้น หรือฝึกให้เด็กระบายสีอย่างอิสระ เพื่อให้เด็กสนุกและเพลิดเพลิน

กับการลากเส้นมากยิ่งขึ้น การใช้สีเทียนด้ามอ้วนลากเส้นจึงเป็นเทคนิคหนึ่งที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ของคุณครูสนุกและสร้างการจดจำ ให้เด็กรู้สึกว่าเรื่องการลากเส้นเพื่อเชื่อมโยงไปถึงการฝึกลีลามือในอนาคตนั้น  เป็นเรื่องที่สนุกและไม่บังคับเด็กจนเกินไป

การลากเส้น อจท


 

 

การจับดินสอ อจท

 

 

เรื่องของการจับดินสอก็สำคัญไม่แพ้กัน!!
ก่อนที่เราจะพูดถึงเทคนิคการลากเส้น อาจจะต้องว่ากันเรื่องของการจับดินสอของเด็ก ๆ แต่ละช่วงวัยกันก่อนว่าควรเริ่มอย่างไร หลายคนมองข้ามพื้นฐานเรื่องการจับดินสอของเด็ก ๆ ไป แต่คุณครูปฐมวัยไม่ควรมองข้าม เพราะกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็ก ๆ อาจยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโดยปกติเด็กเล็กจะเริ่มจากการกำสิ่งของเเบบทั้งมือ ซึ่งการกำจะช่วยให้มีกำลังในการเคลื่อนไหวได้มากกว่าการใช้นิ้วมือนิ้วใดนิ้วหนึ่ง ซึ่งจะค่อย ๆ พัฒนารูปเเบบการวางนิ้วไปเรื่อย ๆ เมื่ออายุเข้า 4 ปี เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการในการวางนิ้วมือบนดินสอในทิศทางที่เเตกต่างกัน จนพัฒนาไปสู่การจับที่ดีขึ้น ซึ่งการจับดินสอที่มีประสิทธิภาพที่สุด เรียกว่า "การจับ 3 นิ้ว" หรือ (Tripod Grasp) การจับดินสอในลักษณะนี้ประกอบด้วย

  • เด็กถือดินสอไว้ด้วย 3 นิ้ว นั่นคือ นิ้วกลาง, นิ้วหัวเเม่มือเเละนิ้วชี้
  • ดินสอหรือปากกาจะอยู่บนข้อนิ้วกลาง เเละจะถูกบีบอยู่ระหว่างนิ้วหัวเเม่มือเเละนิ้วชี้
  • ส่วนนิ้วก้อยเเละนิ้วนางจะวางพักอยู่บนฐาน (พื้นหรือโต๊ะ) นั่นเอง

การจับดินสอหรือปากกาเเบบ (Tripod Grasp) นี้ จะมีประสิทธิภาพมาก เพราะใช้เเรงการเขียนน้อยกว่าการจับเเบบอื่น ๆ ซึ่งทำให้มือของเด็ก ๆ ไม่ล้าง่าย เมื่อเวลาเคลื่อนไหว


 

รู้ไหมอุปกรณ์ฝึกลากเส้น ลีลามือของเด็กแต่ละวัยคืออะไรบ้าง?
วัย 1 ปี – 1 ปีครึ่ง 
เป็นวัยที่เริ่มจับอุปกรณ์เพื่อขีดเขียน  สีเทียนด้ามอ้วน จึงเหมาะแกการฝึกจับในช่วงแรก เพราะสีเทียนด้ามอ้วนทนต่อแรงกดของเด็กทียังไม่สามารถควบคุมน้ำหนักมือตัวเองได้
วัย 2  – 3 ปี 
เริ่มพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กสามารถใช้ ดินสอด้ามใหญ่กว่าปกติ ดินสออาจมีลักษณะแบบสามเหลี่ยมเพื่อให้เหมาะกับมือเด็กมากยิ่งขึ้น ซึ่งในวัยนี้เป็นช่วงสำคัญที่คุณครูจะทำให้เด็กรู้สึกดีกับการขีดเขียน ไม่ใช่การบังคับ และให้เด็กได้วาดอย่างอิสระเพื่อให้เด็กสนุกกับการขีดเขียน
วัย 3 – 4 ปี 
เริ่มจับดินสอได้ดีขึ้น คุณครูสามารถปรับแต่งท่าทางการเขียนได้ การเขียนในวัยนี้อาจจะเพิ่มการวาดภาพตามจินตนาการที่มีเป้าหมายมากขึ้น เพิ่มการลงน้ำหนักมากขึ้น
วัย 4 ปีครึ่ง – 7 ปี 
เป็นวัยที่เด็กต้องจับดินสอได้ถูกต้อง เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ และจดจำท่าทางที่เหมาะสมไปใช้ในการเรียนที่สูงขึ้น ท่าทางการจับดินสอที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็กไม่เมื่อยล้า  ซึ่งนอกจากเรื่องลากเส้นต่าง ๆ แล้ว การฝึกเขียนตัวเลขไปจนถึงการฝึกเขียนตัวอักษรก็สามารถทำได้ในวัยนี้
 

เด็กปฐมวัย อจท


   สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยวิธีการต่าง ๆ เข้ามาใช้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการหัดขีดเขียนตัวหนังสือ หรือแม้แต่การฝึกลากเส้นระบายสี หรือการรู้จักเส้นพื้นฐาน รวมถึงการฝึกลีลามือ เป็นเรื่องเล็กที่สำคัญต่อวัยหนู ๆ เป็นอย่างมาก คุณครูสามารถนำเทคนิคการจับดินสอ หรือกระบวนการเรียนรู้ลากเส้น ฝึกลีลามือ ไปปรับใช้เพื่อจัดกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่น ๆ ได้ที่     >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่    >>> คลิก <<<

 

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง