7 ทักษะสำคัญ … ของ Gen Alpha ที่ครูยุคใหม่ต้องรู้!!

 

มีการคาดการณ์ว่า เด็กในยุค Generation Alpha หรือเด็กเจนอัลฟ่า กำลังจะเติบโตมาเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยบุคลิกลักษณะที่แตกต่างจากเด็กรุ่นก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นความเฉลียวฉลาด ความเข้าใจเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามมาซึ่งการยึดติดเอาอุปกรณ์ดิจิตอลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทำให้เด็กส่วนใหญ่มีความอดทนต่ำลง เป็นตัวของตัวเองสูง นอกจากนั้นเด็กยังมีเวลาน้อยลงสำหรับการศึกษาทักษะชีวิตในด้านอื่นๆ ทั้งยังขาดทักษะบางประการที่อาจทำให้การเจริญเติบโตไม่เหมาะสม ดังนั้นบทบาทของครูในยุคเจน อัลฟ่าอาจไม่ใช่แค่ผู้สอนตามตำราเพียงอย่างเดียว แต่ครูยุคใหม่ควรมีบทบาทที่สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นเรื่องทักษะจำเป็นเพื่อต่อเติมให้พวกเขาอยู่ในสังคมนี้ได้โดยมีภูมิต้านทานและคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต ซึ่งทักษะจำเป็นที่จะพูดถึงนั้นก็คือ

 

 

ทักษะการสื่อสาร

 

การสื่อสารผ่านแววตา กายสัมผัส วลีสัมผัส ของเด็กๆเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ หลังจากที่โซเชียลเน็ตเวิร์คและโซเชียลมีเดียที่อยู่ในมือ การเพิ่มทักษะการสื่อสารให้เด็กเหล่านี้ อาจเริ่มจากการรับฟังความคิดความรู้สึกของเด็ก แล้วสะท้อนความรู้สึกของคุณครูเอง ก่อนจะโยนโจทย์ปัญหาให้เด็กได้ลองคิดตาม และแก้ไขจากมุมของตัวเด็กเอง ซึ่งการสอนเด็กๆจะเน้นภาษาท่าทางเป็นหลัก คุณครูต้องทำความเข้าใจ ตีความ และใส่ใจภาษาของเด็ก ต้องให้เขาเรียนรู้วิธีการสื่อสารอย่างเหมาะสม เช่น ถ้าเขาแสดงออกผ่านท่าทางหรือสื่อสารยังไม่ชัดเจน อาจถามเขาว่าหนูหมายถึงอย่างนี้ใช่ไหมลูก คุณครูต้องสอนให้เขารู้จักวิธีแสดงออกทางอารมณ์ให้เหมาะสม และทำอย่างสม่ำเสมอ

 

 

 

 

 

 

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหาเป็น 

 

คุณครูสามารถฝึกให้เด็กช่างสังเกต ช่างจดจำ รู้จักตั้งคำถามกับสิ่งที่พบเจอว่าถูกหรือผิด มีวิจารณญาณเป็นของตัวเอง และรู้จักวิธีหาคำตอบด้วยตัวเองอย่างชาญฉลาด เมื่อเจอปัญหาต้องฝึกแก้ไขด้วยตัวเอง โดยอาจจะสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อสร้างทักษะการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม ให้เด็กเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา รวมถึงการใช้ความคิดด้านบวกมาสอนเด็ก ให้พวกเขาได้เห็น ได้ยิน เช่น ถ้าไม่มีของฝาก ไปเยี่ยมคุณปู่คุณย่า เด็กๆคิดว่าเราน่าจะให้อะไรกับคุณปู่คุณย่าได้บ้าง ให้พวกเขาได้ลองคิดและคุณครูอาจจะแนะแนวทางว่านอกจากสิ่งของที่ให้เราคุณปู่คุณย่าได้แล้วนั้นการกอด หรือการบอกรัก ก็เป็นสิ่งที่สามารถทดแทนการซื้อของฝากให้คุณปู่คุณย่าได้เช่นกัน

 

 

ทักษะการคิดสร้างสรรค์

 

เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะชอบตั้งคำถาม ซึ่งเราควรจะปล่อยให้เด็กมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น การพูด หรือการกระทำตามจินตนาการ เพราะจินตนาการเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การที่เด็กมีจินตนาการ ถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญและทำให้เด็กอยู่รอดได้ในอนาคต

 

 

ทักษะในการใช้สื่อและรู้ทันการใช้สื่อดิจิตอล

 

การที่เด็กสามารถเลือกใช้ข้อมูลและสื่ออย่างเหมาะสม จะทำให้เด็กไม่หลงทางและติดกับดักเทคโนโลยี ซึ่งคุณครูและผู้ปกครองควรปรับตัวให้ทันสื่อในยุคนี้เพื่อให้คำแนะนำและสอดแทรกความรู้ในการเสพข้อมูลต่างๆ ในสื่อดิจิตอลได้

 

 

ทักษะความอดทน ฝึกจิตใจให้เข้มแข็งไม่ย่อท้อ

 

คุณครูควรฝึกให้เด็กๆเรียนรู้ความรู้สึกต่างๆด้วยตัวของพวกเขาเอง เช่นสอนให้เด็กรู้จักความผิดหวังและเจออุปสรรคบ้าง สอนให้เด็กเรียนรู้รอบด้านและยอมรับสิ่งต่างๆอย่างมีเหตุผลและรู้จักรับมือกับความผิดหวังให้เป็น นอกจากนั้นคุณครูควรสร้างกำลังใจและสนับสนุนให้เด็กเห็นคุณค่าของตัวเอง เสมอเช่นคำพูดเชิงบวกจะช่วยให้จิตใจของเด็กเข้มแข็ง

 

 

 

                             

 

 

 

ทักษะการทำงานเป็นทีม

 

ให้เด็กฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีน้ำใจ แบ่งปัน ไม่เอาเปรียบ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้เด็กสามารถเรียนและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในอนาคต

 

 

ทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

 

การเข้าอกเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น จะทำให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน รวมถึงการรับรู้ความรู้สึกตัวเองและเรียนรู้ที่จะให้เด็กเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น เป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับจิตใจด้านในของเด็กได้

 

 

ทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

 

7 ทักษะนี้จะช่วยให้คุณครูสามารถกระตุ้นให้เด็กฝึกพัฒนาทักษะพื้นฐานสำคัญต่อการใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เทคโนโลยี เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาทักษะประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกันในคราวเดียว และพัฒนาไปถึงการวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักตัดสินใจ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อีกด้วย อีกทั้งเป็นการเรียนรู้แบบ Transformative Learning ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้เข้าใจตัวเอง โลกและสังคม ผ่านประสบการณ์และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ในชีวิตได้ต่อไป

 

 

 

 

 

 

 
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
  • เว็บไซต์ Modernmom.com
แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีบทความที่เกี่ยวข้อง