สื่อสารอย่างไรพิชิตใจเด็กดื้อ
นักเรียนไม่ใช่คู่ต่อสู้ของครู ยิ่งครูตอบโต้เท่าไหร่ พฤติกรรมของเด็กก็จะยิ่งก้าวร้าวมากขึ้นเท่านั้น นักเรียนจะซึมซับพฤติกรรมของเราเหมือนกับถ่ายวีดีโอโดยไม่รู้ตัว ถ้าเราสื่อสารด้วยความก้าวร้าว เด็กจะแสดงออกแบบนั้น ตัดไฟแต่ต้นลม อย่าใจอ่อน ถ้ารู้ว่าทำผิดให้ครูบอกนักเรียนทันที
|
ดร.มาเรียน ไนเฟิร์ท (Dr. Marianne Neifert) ผู้เขียนเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวในนิตยสาร Parenting Magazine กล่าวว่า พฤติกรรมของนักเรียนจะหลากหลาย วันนี้อาจดีเหลือเชื่อ อีกไม่นานอาจร้ายแทบคิดไม่ถึงก็ได้ เช่น เถียงครู คำไม่ตกฟาก ถ้าครูโต้ตอบเด็กจะยิ่งก้าวร้าวมากขึ้น
ดร. ไนเฟิร์ท ผู้เชี่ยวชาญพฤติกรรมครู อาจารย์ ศิษย์ เตือนสติว่านักเรียน ไม่ใช่คู่ต่อสู้แต่เป็นผู้ที่เราจะต้องค่อยๆ ให้แกเรียนรู้ต่อสู้กับโลกได้ หากลูกศิษย์เราพูดจาหยาบคายหรือเถียงเราตลอดเวลา หรือแสดงอากัปกิริยาไม่น่าดูไม่ให้เกียรติครู ซึ่ง ดร. ไนเฟิร์ท บอกถึงวิธีแก้ไขดังนี้
1.แบบอย่างที่ดี (Be a good example) ไม่ว่าเราจะทำดีหรือไม่ดี เด็กจะค่อยๆ ซึมซับเข้าไปเหมือนถ่ายวิดีโอโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้น เราต้องไม่ใช้คำหยาบคายหรือด่าหรือสบถเป็นอันขาด ควรใช้คำพูดที่ไพเราะ เช่น ครับ ค่ะ ขอบคุณ ขอโทษ และอย่านินทาหรือว่ากล่าวใครจนเด็กเลียนแบบตาม
2.ให้นักเรียนรู้ว่าอะไรที่แกทำได้หรือไม่ได้(สร้างเงื่อนไข) การให้เด็กรู้จักกฎเกณฑ์เป็นสิ่งดี แต่เราต้องพยายามเข้าใจว่า ความรู้สึกหรือความต้องการของเด็กด้วย เป็นการใช้ระบบเอาใจ”ลูกศิษย์”มาใส่ใจ”เรา” เพื่อให้เกิดความร่วมเป็น “พวกเรา”(สองคนครูกับลูกศิษย์)
3.ถ้าลูกศิษย์ทำเกินไปต้องรีบจัดการ อย่ารอหรือกลัวลูกศิษย์จะโกรธ หากลูกศิษย์ทำไม่ดีต้องบอกโดยทันทีแกจะได้รู้ว่า ถ้าผิดจริงครูไม่ยอมแน่ เด็กส่วนมากถ้ารู้ว่าผู้ใหญ่เอาจริงแกจะไม่กล้าท้าทายเพราะกลัวโดนลงโทษ
4.ให้ความมั่นใจ เพื่อแกจะได้เข้าใจและยังมีความเชื่อมั่นตัวเอง เช่น ลูกศิษย์เถียงเวลาเราสอนก็ให้บอกลูกศิษย์ไปว่า “ครูไม่ได้ว่าหนู แต่ครูไม่ชอบภาษาที่หนูพูด” ขอให้พูดว่า ”หนูเป็นเด็กดีเกินกว่าจะพูดจาแบบนั้น”
5.ลงโทษ (ตัดคะแนน ให้ทำแบบฝึกหัดเพิ่ม) ถ้าแกทำอะไรผิดต้องบอกแกทันที ถ้าแกไม่เชื่อ ก็อาจว่ากล่าวตักเตือนหรือลงโทษตามแต่กรณีว่าทำผิดมากหรือน้อย เช่น “หนูจะขอโทษไหมที่ทำตัวแบบนั้น” ถ้าลูกศิษย์ไม่ยอมขอโทษ ไม่ยอมรับผิดและยังอาละวาดต่อ ก็ต้องมีบทลงโทษกันบ้างด้วย ตัดคะแนน ให้ทำแบบฝึกหัดเพิ่มหรือลงโทษตามแล้วแต่กรณี
ถ้าทำทั้ง 5 วิธีที่กล่าวมานี้เชื่อว่าลูกศิษย์อาจจะเชื่อฟังเราบ้าง ขอครู อาจารย์อย่าใจอ่อน ลูกศิษย์เราจะได้เป็นเด็กน่ารักที่ไม่ใช่แต่สำหรับเรา แต่ยังเป็นที่ชื่นชมของพ่อแม่และเป็นเด็กดีในสังคมได้
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
- Watcharaporn’s Blog
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีบทความที่เกี่ยวข้อง