แนวโน้มเทรนด์การศึกษา 5 อันดับแรก ปี 2021

แนวโน้มเทรนด์การศึกษา 5 อันดับแรก ปี 2021

 

เทรนด์การศึกษา

 

 

เทรนด์การศึกษาของปี 2021 ที่น่าจับตามองมากที่สุดในตอนนี้ คือการเรียนรู้แบบดิจิทัล ที่เน้นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ควบคู่ไปกับการสอนแบบออนไลน์ และ การสร้างปฏิสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในบทบาทหน้าที่ กับการปรับใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อนำไปสู่การเป็นพลเมืองโลกอย่างมีคุณภาพ

 

     ปี 2020 ที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงทั่วโลก รวมไปถึงโลกของการศึกษา ที่มีรูปแบบการเรียนการสอนที่ต่างออกไปอย่างชัดเจน การสอนในรูปแบบออนไลน์ที่มีการใช้อย่างกว้างขวางผสมผสานกับการนำแอปพลิเคชันมาใช้ร่วมกับการสอน เพื่อให้การสอนก็ยังคงดำเนินต่อไป

 

เทรนด์การศึกษา อักษร

 

     แล้วแนวโน้มของการสอนในปี 2021 นี้จะมีอะไรบ้าง ไปติดตาม 5 อันดับนี้กันครับ

 

เทรนด์การศึกษา อจท

 

1. Nanolearning การเรียนรู้ผ่าน E-learning ด้วยคลิปสั้น ๆ
     ในยุคข้อมูลข่าวสารที่เดินทางเร็วยิ่งกว่าจรวด ทำให้ช่วงความสนใจ โดยรวมของคนเรานั้นสั้นลง เพราะความเหนื่อยล้าที่จมอยู่กับหน้าจอ สมองเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่ได้รับการแจ้งเตือนในแต่ละวัน ส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดจากฮอร์โมนคอร์ติซอล ทำให้ขาดสมาธิ และการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ช้าลง แล้วเราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ในห้องเรียนได้อย่างไร?
     Nanolearning คือทางเลือกสำหรับการเรียนรู้แบบขนาดพอดีคำ เป็นการให้ความรู้แก่นักเรียนในปริมาณที่น้อยลง ในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ช่วยเพิ่มความสามารถในการรับรู้ และเข้าถึงได้ โดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความสนใจและช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้นด้วยครับ
4 ข้อหลัก สำหรับการเรียนรู้แบบ Nanolearning อย่างมีประสิทธิภาพในห้องเรียน ได้แก่ :

  • รู้ความต้องการของนักเรียน
  • ตั้งเป้าหมายในการเรียน
  • เลือกรูปแบบที่นำเสนอ เช่น วิดีโอ แอป หรือ Podcast
  • ทำให้สั้นเข้าไว้โดยไม่เกิน 2-5 นาที

 

เทรนด์การศึกษา aksorn

 

2. Virtual reality and augmented reality เทคโนโลยีโลกเสมือน
     เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) ได้รับความสนใจและถูกนำมาใช้ในห้องเรียนมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมาเพื่อให้การใช้ VR มีประสิทธิภาพและสมจริง ผู้ใช้งานต้องจัดเต็มด้วยชุดหูฟัง และแว่นตาที่มีราคาสูง Google Cardboard จึงเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้งานได้ประสบการณ์กับ VR ในราคาที่จับต้องได้
     ในขณะที่ AR ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะเป็นการฉายภาพ เสียง และวิดีโอ เพียงใช้กล้องจากสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต  ก็จะทำให้ผู้ใช้งานสนุกกับโลกของภาพ 3 มิติ ภาพเสมือนจริง ที่มองเห็นผ่านกล้อง
ตัวอย่างเช่น การค้นหาชื่อ "PANDA" บน Google เทคโนโลยีจะทำให้หมีแพนด้ามานั่งอยู่ตรงหน้าในแวดล้อมโต๊ะทำงานของคุณ! มาสร้างห้องเรียนให้สนุกผ่านสมาร์ตโฟนได้เลย
อย่างไรก็ตาม VR เป็นเทคโนโลยีที่นักเรียนมักจะชอบมากกว่า ที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ได้สร้างจินตนาการเหมือนได้ออกไปนอกห้องเรียนจริง ๆ แล้วคุณครูจะรวม AR และ VR เข้ากับห้องเรียนได้อย่างไร? มาดูกันครับ

  • ทัศนศึกษา การพานักเรียนออกไปทัศนศึกษา จะได้ประโยชน์สำหรับการสอนในด้านศิลปะ ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์จะดีกว่ามั้ย หากเทคโนโลยี VR จะช่วยย่อโลก พานักเรียนออกไปชมแกลลอรี่ พิพิธภัณฑ์ และทุกเมืองในโลกนี้ได้  โดยไม่ต้องออกเดินทาง
  •  เทคโนโลยี VR เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพที่หลากหลายทำให้นักเรียนได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง และเหมือนได้รับประสบการณ์โดยตรงจากสถานการณ์จำลอง ในการทำงานที่แตกต่างกันอีกด้วยการฝึกอบรมเสมือนจริง
  •  มีอิทธิพลอย่างมากสำหรับนักเรียนที่คิดจะประกอบอาชีพในด้านต่าง ๆ เช่น การทหารหรือการแพทย์ ในกิจกรรมนี้่เทคโนโลยี VR และ AR สามารถฉายภาพการฝึกเสมือนจริงได้ เช่น สามารถแสดงให้นักเรียนเห็นกายวิภาคของร่างกายจากภายในสู่ภายนอกการซึมซับภาษา
  • วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ภาษาคือการอยู่ในสังคมที่ใช้ภาษานั้น ซึ่งเทคโนโลยี VR สามารถให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยการให้พวกเขาเห็นโลกเสมือนจริง และได้ยินเฉพาะภาษาที่เขาอยากเรียน

 

เทรนด์การศึกษา อจท.

 

3. Project-based learning การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน
     การเรียนรู้ด้วยโครงงาน เป็นอีกวิธีการสอนที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับโครงงานในชีวิตจริง แนวคิดคือนักเรียนได้เรียนรู้โดยการลงมือทำ และมีครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น จุดประสงค์หลัก เพื่อต้องการให้นักเรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์จริงไปสู่การเรียนรู้ และค้นหาคำตอบด้วยการลงมือทำ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน และการสื่อสาร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นทักษะที่องค์กรต้องการในการทำงานของศตวรรษที่ 21

คุณครูสามารถไกด์หัวข้อสำหรับโครงงานให้นักเรียนได้ ตัวอย่างเช่น
  • หาวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
  • ค้นหาแหล่งพลังงานทางเลือก
  • วิเคราะห์ภาพถ่ายหรือภาพข่าว
  • ฟังความคิดเห็นหรือเสียงโหวต

แล้วการเรียนรู้แบบโครงงานจะต้องทำอย่างไรในห้องเรียน? อยากชวนคุณครูลองแนวคิดในการนำชั้นเรียนด้วยวิธีดังนี้กันครับ:

  1. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4-5 กลุ่ม
  2. ให้ระดมความคิด ไอเดีย ในการทำโปรเจค
  3. เลือกเรื่องที่สนใจและนำมาเสนอในห้องเรียน
  4. ให้นักเรียนค้นคว้าสิ่งที่สนใจร่วมกัน
  5. จากนั้นรวบรวมงานนำเสนอในรูปแบบดิจิทัล
  6. นำเสนอโครงงานของตนเองในชั้นเรียน และให้นักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ร่วมกันเสนอแนะ

แนวโน้มเทรนด์การศึกษา

 

4. Experiential learning (การเรียนรู้จากประสบการณ์)
     บ่อยครั้งจะพบว่า นักเรียนขาดปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนเพิ่มขึ้น เพราะโทรศัพท์มือถือดึงความสนใจแยกนักเรียนออกจากเพื่อนร่วมห้อง อย่างไรก็ตามวิธีที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้คือ การหาแรงบันดาลใจให้นักเรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
     ปัจจุบันโรงเรียนทั่วโลกได้พยายามให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง เพื่อฝึกฝนประสบการณ์ การตัดสินใจ วางแผน และการทำงานเป็นทีม การฝึกฝนที่สามารถเกิดขึ้นนอกห้องเรียนได้ คือ ไปสวนสัตว์หรือเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ แต่ในปี 2021 การเรียนรู้หลายอย่างจะเปลี่ยนเป็นออนไลน์มากขึ้น แล้วกิจกรรมเรียนรู้แบบออนไลน์มีอะไรบ้าง

  1. กิจกรรมฝึกการทำงานร่วมกัน - ให้นักเรียนร่วมกันแชร์ปัญหาที่เกิดขึ้น และแชร์ไอเดีย หรือแนวทางการแก้ปัญหากันในทีม เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
  2. กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ - ให้นักเรียนจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะสถานการณ์จำลองจะสามารถแสดงให้นักเรียนเห็นพฤติกรรม และการแสดงออกที่แตกต่างกันออกไป
  3. กิจกรรมภาคสนาม - ให้นักเรียนเก็บข้อมูล โดยสามารถทำได้ทางออนไลน์ผ่านแบบสอบถามและแบบสำรวจเพื่อนำมาเสนอในชั้นเรียน

เทรนด์การศึกษา

 

5. Online schooling (โรงเรียนออนไลน์)
     การเรียนออนไลน์ เป็นเทรนการศึกษาที่นิยมมากในปี 2021 แม้ว่าเทรนนี้จะเกิดจากความจำเป็นในปี 2020 แต่ก็ถูกพัฒนาให้มีการนำเทคโนโลยี เข้ามาเพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และกลายเป็นสิ่งถูกนำไปใช้ในโรงเรียนต่าง ๆ ที่ถูกบังคับให้ทดลองเรียนรู้ทางออนไลน์มากขึ้น
     ทำไมการเรียนออนไลน์ถึงได้รับความนิยม ไม่ใช่แค่เพียงความยืดหยุ่นและคุ้มค่าเท่านั้น แต่ยังสามารถเข้าถึงผู้เรียนได้ อย่างวงกว้างโดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับสถานที่อีกต่อไป  ดังนั้นนี่จึงเป็นการทลายอุปสรรคด้านการศึกษาและเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้น
แล้วจะมีปรากฏการณ์ไหน ที่จะเกิดขึ้นในปี 2021 อีก หรือจะมีเทรนใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหรือไม่? ต้องติดตามกันครับ

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก: https://blog.pearsoninternationalschools.com/the-top-five-educational-trends-to-look-out-for-in-2021/

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

 
Share

Relate article