เจาะลึกการทำแผน IEP สำหรับเด็ก LD ครูการศึกษาพิเศษห้ามพลาด!

 

เจาะลึกการทำแผน IEP สำหรับเด็ก LD

ครูการศึกษาพิเศษห้ามพลาด!

 
 
ภาพปกบทความเรื่อง Education 4.0 กับความสำคัญที่ 'ทักษะต้องมาก่อน'

 

แผน IEP ที่คุณครูการศึกษาพิเศษ หรือคุณครูที่สอนเด็ก LD จำเป็นต้องใช้

เป็นแผนที่ออกแบบมาเฉพาะเป็นรายบุคคล เพื่อให้เหมาะสมกับเด็ก LD ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบันแผน IEP ได้นำมาปรับกับการใช้สอนเด็ก LD ทั้งในไทย และอีกหลายประเทศ อย่างในอเมริกาที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับเด็กกลุ่มนี้ และได้ออกกฎหมาย Individuals with Disabilities Education ACT : IDEA (PL101-476) เพื่อจัดการศึกษาพิเศษให้กับเด็ก LD ทุกคน ให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ โดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

สำหรับประเทศไทยเองก็ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็ก LD โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP ให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อพ.ศ. 2552 ซึ่งได้กำหนดจุดประสงค์ การวางแผนการสอน และการติดตามความก้าวหน้า เพื่อช่วยเหลือ และพัฒนาเด็ก LD ได้อย่างตรงจุด

 

ทำความรู้จัก แผน IEP

แผน IEP (Individualized Education Plan) เป็นแผน หรือโปรแกรมระยะยาว 1 ปี ที่กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กLD ให้ได้รับการพัฒนาตามเป้าหมายที่เหมาะสม ตรงจุด เน้นการพัฒนาทางด้านวิชาการ ครอบคลุมถึงพัฒนาการด้านสังคม และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกับครู โรงเรียน และผู้ปกครอง รวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ตามความเหมาะสม ในแผน IEP จะมีการกำหนดสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลือทางการศึกษา ที่สอดคล้องเหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เหล่านี้โดยเฉพาะ

 

แผน IEP สำหรับเด็ก LD ควรมีอะไรบ้าง

1. ข้อมูลทั่วไป

2. ข้อมูลด้านการแพทย์ หรือด้านสุขภาพ

3. ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น สิ่งแวดล้อม และสังคมรอบตัวเด็ก ความเป็นอยู่ของครอบครัวเด็ก

4. มีการกำหนดแนวทางการศึกษา และการวางแผน IEP

5. สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

6. คณะกรรมการการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ความคิดเห็นของคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้เรียน

7. ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่คุณครูจะนำมาประเมิน วิเคราะห์ และวางแผนการสอนให้กับเด็ก LD ได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

 

6 ขั้นตอนจัดแผน IEP ที่ดีต่อใจเด็ก LD

 

1.ขั้นเตรียมการ

รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ สอบถาม สังเกต หรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเด็กแต่ละคน

 

2.ขั้นเตรียมแผนการสอน

ประเมินความสามารถพื้นฐานด้านการอ่าน เขียนและคำนวณ ด้วยแบบทดสอบ หรือแบบฝึกก่อนเรียน หลังจากนั้นค่อยกำหนดแนวทางการศึกษา และวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ ด้วยการนำผลตรวจ หรือผลการประเมินมากำหนดเป็นแผนระยะยาว 1 ปี

 

3.ขั้นสอน และนำไปใช้

ครูเริ่มสอนตามขั้นตอนในแผน IEP โดยเริ่มจากขั้นนำ กระตุ้นให้เด็กมีความสนใจกับการเรียนการสอน ก่อนเข้าสู่เนื้อหา ฝึกปฏิบัติ และทบทวนความเข้าใจ

**ทั้งนี้การนำแผน IEP มาใช้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4.ขั้นประเมินผลการเรียนรู้

บันทึกผลการสอน และการจัดกิจกรรม ด้วยการประเมินโดยใช้เครื่องมือ และเกณฑ์ที่กำหนด ว่าเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามแผน ควรวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ และปรับแผนการสอนต่อไป

 

5. ขั้นสรุป และรายงานผล

สรุปตามแผน IEP โดยการนำผลมาเทียบกับเกณฑ์การประเมิน หลังจากนั้นรายงานประเมินความก้าวหน้าให้กับผู้ปกครองรับทราบ

 

6. ขั้นส่งต่อ

ขั้นนี้เป็นการส่งต่อเด็กที่จบการศึกษา หรือย้ายโรงเรียน ต้องนำแผน IEP เพื่อใช้เป็นข้อมูลต่อไป

 

แล้วแผน IIP คืออะไร? เหมือน หรือแตกต่างกับ แผน IEP?

สำหรับแผน IIP (Individual Implementation Plan: IIP) เป็นแผนการสอนแบบรายเดือนอิงตามโครงสร้างแผนใหญ่ (IEP) ซึ่งจะลงรายละเอียดว่าจะสอนเนื้อหาเด็ก LD อย่างไร สอนด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือกิจกรรมอะไรบ้าง และมีการวัดประเมินพวกเขาอย่างไร และต้องบันทึกพัฒนาการเรียนรู้ของพวกเขาเป็นรายวันไว้ด้วย หลักสำคัญของการสอนโดยใช้แผน IIP

- อย่างแรก คือ กำหนดทักษะที่จะสอนซึ่งต้องดูเป็นรายบุคคลว่าเด็ก LD คนนี้ควรสนับสนุนทักษะอะไรเพิ่มเติม

- เมื่อเราทราบแล้วว่าเด็กคนนี้ขาดทักษะด้านไหน ว่าก็เริ่มวาง Plan เป็นภาพรวมไว้ว่าจะสอนเด็กอย่างไรบ้าง

- วางแผน IIP ว่าจะต้องใช้เนื้อหา กิจกรรม หรือสื่ออุปกรณ์ และวิธีการสอนแบบไหนบ้างมาวางแผน IIP ต่อไป

 

หลังจากใช้แผน IIP แล้วต้องทำอย่างไร?

เมื่อสอนตามแผน IEP และ IIP แล้วสิ่งที่ควรทำหลังจากนั้น คือ การวัดประเมินผล โดยประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคนเป็นรายบุคคลตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในแผน IEP และ IIP อาจจะเป็นการประเมินเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ซึ่งการวัด และประเมินในแต่ละครั้งเราสามารถนำมาวิเคราะห์ว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเดิม สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเตรียมวางแผนการสอนในครั้งต่อไปได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

 

ทำอย่างไร ถึงจะขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลือใดทางการศึกษา หรือคูปอง สำหรับเด็ก LD 2,000 บาท

การขอรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลือใดทางการศึกษา หรือคูปอง สำหรับเด็ก LD 2,000 บาทนั่น สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนรวม หรือโรงเรียนร่วมจะได้รับการอุดหนุนตามระบบคูปองการศึกษาให้กับเด็ก LD ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ซึ่งจะมีวิธีการขอรับคูปอง สำหรับเด็ก LD ดังนี้

 

1.ครูผู้สอนขึ้นทะเบียน

หากเป็นโรงเรียนรวม หรือโรงเรียนร่วม ครูที่ดูแลเด็ก ๆ สามารถขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นผู้ให้บริการกับศูนย์การศึกษาพิเศษได้

 

2.สำรวจ และคัดกรองเด็ก

เด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน (อ่าน เขียน คำนวณ) หากตรวจพบ และมีการวินิจฉัยจากคุณหมอแล้ว ครูสามารถขอรับเงินอุดหนุนตามระบบคูปองการศึกษาสำหรับเด็กได้คนละ 2,000 บาท

 

2.1. กรอกข้อมูล และส่งแผน IEP ในระบบ IEP Online

การวิเคราะห์ และประเมินความบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็กแต่ละด้าน และวางแผน IEP อย่างมีคุณภาพ จะช่วยให้เลือกรายการสื่อของรหัสรายการบัญชี ก ข และค ได้ตรงตามความต้องการพิเศษของเด็ก ๆ เป็นรายบุคคล ตามวงเงินของคูปองการศึกษา 2,000 บาท รายละเอียดประเมิน วิเคราะห์ และวางแผน IEP ได้ง่ายกว่าด้วยโปรแกรม IEP Smart 

 

3.นำคูปองไปเลือกซื้อสื่อฯ

ครูเริ่มสอนตามขั้นตอนในครูสามารถนำคูปองไปที่ร้านค้าที่ผ่านการประเมินให้เป็นหน่วยบริการในการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา ไปดำเนินการสั่งซื้อสื่อช่วยแก้ปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็ก LD แต่ละคนได้

 

แผน IEP ดีต่อใจทุกคนอย่างไร?

 

*มุมครูผู้สอน

คุณครูจะมีข้อมูลในการวางแผน IEP จัดกิจกรรม และวัดผล ประเมินผล จัดสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

 

*มุมผู้ปกครอง

การพัฒนาของเด็กกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องฝึกฝน และช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียน และที่บ้าน ดังนั้นผู้ปกครองจะมีส่วนช่วยในการร่วมวางแผนการเรียนการสอนให้กับเด็ก ๆ รับรู้ว่าตอนนี้พวกเขาอยู่ในระดับไหน แล้วต้องช่วยส่งเสริมไปพร้อมกับครูผู้สอนได้อย่างไร

 

*มุมสถานศึกษา

สามารถนำข้อมูลจากแผน IEP ไปจัดการศึกษาของเด็กในรูปแบบที่เป็นระบบ และในระดับที่เหมาะสม ข้อมูลเหล่านี้สามารถกำหนดงบประมาณ ทิศทาง และแนวทางการจัดการเรียนการสอน สู่การส่งต่อเด็กกลุ่มนี้ไปสู่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

 

*มุมสหวิชาชีพ

ข้อมูลจากแผน IEP จะช่วยในการวิเคราะห์ วางแผน ประเมิน ร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาเด็ก ๆ ได้อย่างตรงจุด การทำแผน IEP เป็นอีกหนึ่งความท้าทายของครูการศึกษาพิเศษ ที่ต้องอาศัยความใส่ใจ ความทุ่มเทในการดูแล และทุ่มเทเรียนรู้ และเข้าใจการทำแผน IEP เพื่อให้เด็ก LD มีชีวิตที่ดีขึ้นตั้งแต่พื้นฐานการเรียน จนสามารถพัฒนาตัวเอง และช่วยเหลือให้พวกเขามีความสุขกับการเรียนรู้ และการอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

 


ขอบคุณข้อมูลจาก

Share

Relate article