"ไม่ล้อเพื่อนนะจ้ะ" สอนให้เด็กไม่ล้อเลียนหรือเหยียดความแตกต่างของคนอื่น

บทความการศึกษา : "ไม่ล้อเพื่อนนะจ้ะ" สอนให้เด็กไม่ล้อเลียนหรือเหยียดความแตกต่างของคนอื่น

บทความการศึกษา

   

  ในปัจจุบันสังคมเริ่มให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิของเพื่อนมนุษย์ และต่อต้านการเหยียด (Anti Racism) ไม่ว่าจะเป็นการเหยียดเพศ สีผิว รูปร่าง เชื้อชาติ ศาสนา หรือความแตกต่างทางสังคม ซึ่งหมายรวมถึงการล้อเลียนและพูดจาถากถางไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

เด็กเรียนรู้การล้อเลียนปมด้อยหรือความแตกต่างของคนอื่นได้อย่างไร

   คำตอบคือ เด็กจะเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างทางร่างกายของตัวเองและคนอื่นได้ตั้งแต่วัยประมาณ 2-3 ขวบ ซึ่งเป็นการมองเห็นความแตกต่างด้วยสายตาที่บริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยความสงสัยใคร่รู้มากกว่าที่จะมองเห็นว่าเป็นเรื่องตลกที่ต้องนำมาล้อเลียนกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากไม่รีบปลูกฝังความเข้าใจและสอนให้รู้จักเคารพความแตกต่างของคนอื่น ก็เป็นไปได้ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นมาในสังคมที่หล่อหลอมให้เข้าใจว่าการเหยียดหรือล้อเลียนปมด้อยของคนอื่นเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งอาจทำให้เด็กนั้น ไม่รู้จักวิธีปฏิบัติตัวกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

 

บทความการศึกษา ไม่ล้อเลียน

 

1.สอนให้เด็กเข้าใจว่าความแตกต่างเป็นเรื่องธรรมดา

   เราสามารถอธิบายให้เด็ก ๆ เข้าใจว่าความแตกต่างของทุกคนบนโลกเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นสีผิว รูปร่าง ทรงผม ภาษา ศาสนา และอีกหลายอย่างที่เด็กอาจจะยังไม่เคยพบมาก่อน โดยเราสามารถใช้สถานการณ์ง่าย ๆ ในการยกตัวอย่างให้เด็กเข้าใจได้ เช่น ให้ลองสังเกตต้นไม้รอบโรงเรียนมีมากมาย แต่ลักษณะแตกต่างกันเนื่องจากสายพันธุ์ มีความแตกต่างทั้ง รูปร่าง ขนาด มีผลและไม่มีผล ดังนั้นคนเราก็ย่อมมีความแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นจึงไม่ควร

ล้อเลียนหรือมองความแตกต่างของคนอื่นเป็นเรื่องขบขัน

 

บทความการศึกษา ให้เด็กได้เจอคนกลุ่มอื่น

 

2.หาโอกาสให้เด็กได้เจอกลุ่มคนที่หลากหลาย

   เราควรหาโอกาสพาเด็ก ๆ ไปเข้าสังคมเพื่อพบปะผู้คนที่หลากหลาย เช่น การไปทัศนศึกษาตามสวนสาธารณะ หรือพิพิธภัณฑ์ จะทำให้เด็กมีโอกาสได้เจอเด็กต่างชาติต่างภาษา ได้เจอคนที่รูปร่างหน้าตา และพฤติกรรมแตกต่างจากเพื่อนในห้องเรียน และจะทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้สึกว่าการมีรูปลักษณ์ภายนอกที่แตกต่างจากตัวเองเป็นเรื่องผิดปกติ

 

บทความการศึกษา ทำตัวเป็นตัวอย่างท่ี่ดี

 

3.สอนให้เด็กรู้จักใจเขาใจเราและคิดก่อนพูดเสมอ

   เราควรสอนให้เด็ก ๆ นึกถึงจิตใจคนอื่น ลองยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น ถ้าเขาโดนเพื่อนล้อว่าอ้วน เตี้ย หรือไม่น่ารัก เขาจะรู้สึกชอบหรือไม่ชอบอย่างไร เพราะฉะนั้นก่อนที่จะพูดเหยียดหรือล้อเลียนคนอื่น ลองคิดว่าถ้าเป็นตัวเองจะรู้สึกอย่างไรก่อนเสมอ

 

บทความการศึกษา ไม่ทำให้เขารู้สึกเหนือกว่าคนอื่น

 

4.บอกว่าอะไรคือพฤติกรรมที่ไม่ดี และทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น

   สิ่งสำคัญคือเราต้องระวังพฤติกรรมที่ตัวเองแสดงออกต่อคนอื่น รวมถึงสังเกตช่องทางการเสพสื่อของเด็ก เพราะเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะไปเห็นตัวอย่างการเหยียดกันเป็นเรื่องสนุกในสื่อบันเทิงต่าง ๆ แล้วจดจำมาเป็นพฤติกรรมของตัวเอง ดังนั้นครูมีหน้าที่จะต้องอธิบายให้เขาเข้าใจว่า บางคำพูดหรือพฤติกรรมที่เขาเห็นในสื่อ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับคนอื่นในชีวิตจริงได้

 

บทความการศึกษา ไม่ชมเด็กให้รู้สึกเหนือกว่า

 

5.ไม่ชมเชยแด็กด้วยการทำให้เขารู้สึกเหนือกว่าคนอื่น

   หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เด็กมีนิสัยชอบเหยียดหรือล้อเลียนคนอื่นก็คือ เข้าใจว่าตัวเองเหนือกว่าและดีกว่า ซึ่งความเข้าใจที่ผิดนี้อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ถูกตามใจ ให้ท้าย หรือชมผิดวิธี เพราะสิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมเป็นความเข้าใจผิดติดตัวเด็กต่อไป

 

6.สอนให้เด็กรู้ว่าอะไรคือเรื่องอ่อนไหวที่ควรระวังเป็นพิเศษ

   เรื่องที่อ่อนไหวหรือกระทบกระเทือนจิตใจได้ง่ายของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น บางคนไม่โกรธเมื่อถูกล้อเลียนรูปลักษณ์ภายนอก แต่อาจไม่พอใจมากเมื่อถูกล้อเรื่องบุคลิกภาพ แต่ก็มีหลายเรื่องที่ไม่ควรมีการล้อเลียนหรือเหยียดกันในระดับสากล เช่น เรื่องเพศ ศาสนา ความเชื่อ และสีผิว เราจึงควรบอกให้เขาเข้าใจตั้งแต่เนิ่นๆ

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท.    อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mood of the Motherhood

Share

Relate article