ฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ฉันเหมือน ใครรู้ ได้จากพันธุกรรม
วิทยาศาสตร์น่ารู้ สู่การสอนเรื่อง ฉันเหมือนใคร รู้ได้จากพันธุกรรม
คำตอบทางวิทยาศาสตร์ กล่าวไว้ว่า แท้จริงเราหน้าตาเหมือนใครนั้น เป็นเรื่องของหน่วยพันธุกรรม ที่อยู่บนโครโมโซม
คุณครูเคยตั้งคำถามกับผู้เรียนไหมว่าทำไม “หนูหน้าตาเหมือนพ่อ หรือ แม่” แล้วเราเคยสงสัยจริง ๆ ไหมว่าเราหน้าตาเหมือนใคร เพราะอะไรทำไมเราถึงเหมือนหรือมีความคล้ายกับบุคคลใกล้ชิดรอบตัวเรา และมันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ในตอนเด็กที่ว่า ทำไมสองคนหน้าเหมือนกันเหมือนกันเป๊ะ! มันเกิดขึ้นได้ยังไง
คำตอบของเรื่องนี้ที่สงสัยมานาน เริ่มชัดขึ้นเมื่อได้รู้ว่า เมื่อกรทดลองทางวิทยาศาสตร์มนุษย์ทุกคนมีหน่วยพันธุกรรม ที่อยู่บนโครโมโซม มีลักษณะเรียงกันเหมือนสร้อยลูกปัด ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ทางพันธุกรรมจากพ่อแม่โดยผ่านเซลล์สืบพันธุ์มาสู่รุ่นลูก ซึ่งโครโมโซมนั้นจะอยู่ในนิวเคลียสอีกที ตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องสีผิวถ้าพ่อและแม่มีผิวสีเข้มทั้งคู่ โอกาสที่ลูกจะเกิดมามีผิวขาวนั้น คงเป็นไปได้อยาก แต่ก็มีโอกาส เพราะคุณปู่คุณย่าคุณตาหรือคุณยาย อาจจะมีผิวขาว และถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่คนใดคนหนึ่งผิวขาว ลูกที่เกิดมาจะมีสีผิวผสม เช่นเดียวกับสีของดวงตา ที่ได้รับพันธุกรรมยีนเด่น ส่วนของดวงตาเล็กนั้นเป็นลักษณะของยีนด้อย ซึ่งเป็นพันธุกรรมได้รับจากพ่อแม่เราโดยตรง
- ความสูง : เป็นสิ่งที่ได้รับจากกรรมพันธุ์ถึง 70% จากคุณพ่อ 35 % จากคุณแม่ 35 % หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ใช่คนสูง ควรให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างความสูง เพิ่มเพิ่มโอกาสอีก 30 % ที่เหลือ
- ความฉลาด : ความฉลาด 50 – 60 % เป็นผลมากจากพันธุกรรม โอกาสที่ลูกจะฉลาดมีผลมาจากแม่ เพราะยีนด้านความฉลาดจะอยู่ในโครโมโซม X ซึ่งเพศหญิงมีคู่โครโมโซม XX จึงถ่ายทอดสู่ลูกได้มากกว่า
- บุคลิกภาพ : เรื่องบุคลิกภาพจะได้รับมาจากฝั่งพ่อมากกว่าซึ่งมีผลชัดเจนมากกว่าฝั่งคุณแม่
ภาพโครงสร้างโครโมโซม จากหนังสือเรียนสัมฤทธิ์มาตรฐาน (สมฐ.) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้น ม.3 เล่ม 1
สิ่งที่เล่ามานี้ มันมีจุดเริ่มต้นจากพันธุกรรมที่มีส่วนประกอบจาก โครโมโซม (โครมาโซมจะอยู่ภายในนิวเคลียส) ซึ่งทำหน้าที่เก็บ ลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษ ส่วนของ โครมาทิด (Chromatid) ซึ่งเล็กรองลงมา เป็นแบบจำลองเซลล์ที่ประกอบรวมกันเป็นแท่งโครโมโซม หากมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะมีลักษณะคล้าย ปาท่องโก๋
เล็กย่อยลงมาจากโครมาทิด คือ โครมาทิน (Chromatin) เป็นร่างแหที่พันกันภายในโครมาทิด ประกอบด้วย โปรตีน รวมกับกรดดีออกซีไรโบนิคลีอิค (deoxyribonucleic acid) ในร่างแหโครมาทินจะมีลักษณะเป็นเกลียวคู่คล้ายบันไดเวียนขวา นั้นคือ ดีเอ็นเอ (DNA) มีหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม จาก รุ่นทวดรุ่นปู่ย่า ตายายจนถึงพ่อแม่ และสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป คือรุ่นลูก หรือ รุ่นหลาน
ส่วนประกอบส่วนสุดท้ายคือ ยีนหรือหน่วยพันธุกรรม ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตาของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว และควบคุมกระบวนการทางชีวเคมีภายในเซลล์ ในเรื่องนิสัยใจคอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือเรียนสัมฤทธิ์มาตรฐาน (สมฐ.) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้น ม.3 เล่ม 1
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
Relate article