จับเทคนิค อ่าน-เขียน ภาษาไทย สอนอย่างไรให้สนุก

จับเทคนิค อ่าน-เขียนภาษาไทย สอนอย่างไรก็สนุก!

ภาษาไทย
 
  • ภาษาไทย ภาษาแม่ แต่ทำไมเด็กไทยถึงอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้!

  • ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาอ่านไม่ออก และขาดทักษะการอ่านภาษาไทย

  • จับเทคนิคอ่าน เขียนภาษาไทย สอนอย่างไรให้สนุก!

 
ผลการวิจัยพบว่า เด็กวัยเรียนมีปัญหาอ่านไม่ออก และขาดทักษะด้านการอ่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเด็กกลุ่มนี้แยกย่อยมาเป็น
 
ประเภท จำนวน สาเหตุ
อายุต่ำกว่า 6 ปี ประมาณ 2.65 ล้านคน
  • ไม่ให้ความสำคัญเรื่องการอ่าน
  • ใช้เวลากับสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป
อายุ 6-14 ปี ประมาณ 5.1 แสนคน
  • ปัญหาอ่านไม่ออกสะกดคำไม่คล่อง
(ที่มา: ประกาศภาวะสังคมไทยปี 2562, กรุงเทพธุรกิจ)

จากตารางพบว่า เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี ประมาณ 2.65 ล้านคน แบ่งปัญหาเป็น 1.1 ล้านคน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการอ่านหนังสือมากนัก เพราะถูกมองว่าพวกเขาเหล่านั้นยังเด็กเกินไปที่จะมีความสามารถด้านการอ่าน และอีก 1.45 ล้านคน ใช้เวลาอ่านบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจตามมาด้วยความเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะด้านพัฒนาการเรียนรู้ ในขณะที่เด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ประมาณ 5.1 แสนคน มีปัญหาอ่านไม่ออกสะกดคำไม่คล่อง

จุดเริ่มต้น ที่เป็นสาเหตุให้เด็กขาดทักษะเรื่องการอ่าน เขียน อาจมาจากหลายสาเหตุ อาทิ เรื่องความพร้อมของตัวเด็กเอง หรือขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ที่ไม่เห็นความสำคัญของพื้นฐานการอ่านและเขียนของเด็ก ๆ และขาดการฝึกฝนไปพร้อมกับพวกเขา หรือแม้กระทั่งคุณครูที่อาจใช้รูปแบบการสอนเดิม ๆ ซ้ำ ๆ จนน่าเบื่อ ไม่ดึงความสนใจให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้!

 

เทคนิคง่าย ๆ ช่วยครูสอนเด็กได้สนุก ให้เด็กเรียนภาษาไทยเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ!

#กิจกรรม จำง่าย สอนสนุก เสริมด้วยสื่อดิจิทัล

                    หลุดจากกรอบเดิม ๆ ที่สอนแบบเปิดหนังสือ แล้วให้เด็ก ๆ อ่านตาม ทำแบบฝึกหัด แล้วส่งครูในคาบเรียนถัดไป ลองปรับการสอนใหม่ ใช้สื่อดิจิทัล เสริมการเรียนได้ทุกช่วงวัยตั้งแต่ปฐมวัยไปถึงพี่ประถม-มัธยม  

มาดูเทคนิคการสอนแต่ละช่วงวัยด้วยสื่อดิจิทัลกัน!

                     น้องปฐมวัย : เป็นช่วงที่ครูให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาการเด็ก ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม-จิตใจ รวมถึงสติปัญญา แต่ถ้าครูจัดกิจกรรมและเสริมด้วยเพลงประกอบการสอน ในเรื่องนั้น ๆ จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ไม่มีเบื่อ ยกตัวอย่างกิจกรรม เช่น ถ้าครูอยากจัดกิจกรรมให้เด็กรู้จักพยัญชนะไทย คุณครูอาจให้เด็ก ฝึกร้องเพลงและออกเสียงพยัญชนะไทย เด็ก ๆ จะได้ซึมซับภาษาไทยอย่างเป็นธรรมชาติผ่านบทเพลงแสนสนุก เปิดบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กได้ฝึกซ้ำ ๆ ให้เกิดการจำ

ดาวน์โหลดเพลงพยัญชนะไทย ได้ที่: https://www.aksorn.com/download

ฝึกลากเส้น และทำกิจกรรม เรียนรู้พยัญชนะไทย ฝึกคัดเขียน ให้เด็ก ๆ ได้จับสีเทียนขีดเขียนตามรอยประ และคุ้นเคยกับพยัญชนะไทย แล้วให้เด็กลองทำกิจกรรมฝึกลากเส้นต่อจุด รู้จักตัวอักษร และคำศัพท์พื้นฐาน พร้อมกิจกรรมระบายสี เสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และเสริมสร้างจินตนาการของเด็ก ๆ จากหนังสือเสริมประสบการณ์ ภาษาไทย สำหรับเด็ก ๆ แล้วยิ่งฝึกซ้ำ และย้ำบ่อย ๆ เด็กยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

พี่ประถม : เพราะการอ่านเขียนภาษาไทย เป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับเด็กโต ดังนั้น ให้ครูลองใช้ PowerPoint หรือ คลิปวิดีโอ กระตุ้นการนำเข้าสู่บทเรียน ให้ห้องเรียนสนุก หรือเพิ่มกิจกรรมทำระหว่างคาบ หรือการแบ่งกลุ่มให้เด็กคิดหรือมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ลองใช้กิจกรรมท้าทายการคิดเพื่อฝึกทักษะการมีส่วนร่วมใช้ชั้นเรียน ตัวอย่างเช่น ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้ช่วยกันหาข้อมูลงานเขียนประเภทต่าง ๆ เช่น การเขียนคำขวัญ การเขียนคำอวยพร และการเขียนประกาศ แล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน หรือคุณครูท้าทายการคิดผู้เรียนด้วยกิจกรรมสนุก ๆ อย่างการให้ผู้เรียนฝึกแต่งคำขวัญง่าย ๆ แล้วคุณครูอ่านให้ผู้เรียนทายว่าเป็นคำขวัญประเภทใด แต่การทายจะสนุกและสร้างเสียงหัวเราะได้มากขึ้น ถ้าเป็นการทายคำตอบจากท่าทางการแสดง เช่น ถ้าคิดว่าเป็นการเชิญชวนให้ปฏิบัติตามก็ให้ยืนขึ้น หรือถ้าเป็นการขอร้องให้แสดงความร่วมมือก็ให้นั่งทุบโต๊ะ 3 ครั้ง เป็นต้น

 

พัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนภาษาไทย ในผู้เรียนประถมฯ ด้วยหนังสือเรียน ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา

สำหรับพี่มัธยม : คุณครูควรเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้ผ่อนคลายจากกิจกรรมที่เคยทำมาก่อน และสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดความสนใจและต้องการทำกิจกรรม คุณครูอาจเลือกใช้ภาพยนตร์สั้น PowerPoint เรื่องที่จะสอน หรือกิจกรรมจำพวกการร้องเพลง การแสดงบทบาทสมมติ และเกมต่าง ๆ มากระตุ้นความสนใจ คู่กับการจัดกิจกรรมในเชิงสร้างทักษะสัมพันธ์ อย่างทักษะทางภาษา (ฟัง พูด อ่าน เขียน) มาใช้ตลอดการสอน เช่น คุณครูอาจใช้ทักษะการฟัง การอภิปราย การอ่านออกเสียง หรือการเขียนสรุป มาให้ผู้เรียนวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การสอนวรรณคดีเรื่อง นิทานเวตาล อาจนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการให้ผู้เรียนพิจารณาภาพลักษณ์เวตาลว่าเป็นอย่างไร เพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดทักษะการสังเกต การตีความ การสื่อสาร และการนำเสนอความคิดและผลงาน ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการสอน หรือจะปูด้วยคำถามกระตุ้นความคิดที่ว่า การที่อังกฤษรับวัฒนธรรมจากประเทศที่ตกเป็นเมืองขึ้นของตนนั้น ส่งผลดีต่อชาวโลกอย่างไร? เมื่อผู้เรียนแสดงความคิดของตัวเองออกมาแล้ว คุณครูก็ดูว่าควรต้องเสริมความรู้ในส่วนใดบ้าง

 

ดาวน์โหลด PowerPoint ภาษาไทย ชั้น ม.4 เรื่องนิทานเวตาล ได้ที่ :     https://www.aksorn.com/store/2/product-details-1562
พร้อมพัฒนาทักษะทางภาษาไทย และเสริมผู้เรียนให้รู้จักใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การวิจารณ์ และสามารถปรับใช้ในชีวิตได้จริง ด้วยหนังสือเรียน ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม มัธยมศึกษา

อย่าลืมว่าในระหว่างที่ทำกิจกรรม คุณครูต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ ว่าพวกเขามีความสุข สนุกสนานมากแค่ไหน หากผู้เรียนให้ความร่วมมือดี เล่นกิจกรรมด้วยความสุข ก็สามารถนำแนวทางกิจกรรมนี้ไปใช้ต่อ แต่หากยังไม่ได้ผลตอบรับเท่าที่ควรก็สามารถเพิ่มกิจกรรมหรือของรางวัลกระตุ้นแรงใจเข้ามาช่วยได้ แต่หากเด็กทำผิดหรือเรียงต่อคำไม่ถูกต้อง คุณครูอย่าเพิ่งดุหรือติติงผู้เรียนให้เสียกำลังใจ แต่ควรรีบเข้าไปซักถาม แล้วดูว่าไม่เข้าใจตรงจุดไหนแล้วอธิบายอีกครั้งอย่างใจเย็น

และที่สำคัญเมื่อจัดกิจกรรมในห้องเรียนแล้ว คุณครูอย่าลืมกระตุ้นผู้เรียนให้ได้ฝึกเขียน ฝึกพูด ฝึกอ่านให้คล่อง โดยเน้นการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์จริงในบทเรียนนั้น ๆ

 

 เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท.  อื่นๆ ได้ที่     >>> คลิก <<<

 เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่    >>> คลิก <<<

 
 
Share

Relate article