สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กรักคณิตศาสตร์ไปตลอดชีวิต

คณิตศาสตร์สำหรับโลกยุคใหม่

 

สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กรักคณิตศาสตร์ไปตลอดชีวิต

ความหมายของการเรียนคณิตศาสตร์

อาจไม่ใช่การมุ่งไปที่ทักษะที่เด็กจะได้รับในแต่ละบทเรียน แต่อาจหมายถึงการที่เด็กได้รับรู้เป้าหมายและสามารถนำทักษะเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสม

ทัศนคติของเด็ก ๆ กับคำว่า “คณิตศาสตร์” ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากตั้งแต่เริ่มต้นเสมอ จะดีกว่าไหมถ้าเราทำให้เด็กรู้สึกรักการเรียนคณิตศาสตร์ สนุกกับการเชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ กับตัวเลข เข้าใจถึงการได้มาของผลลัพธ์ มองเห็นภาพ รู้สึกท้าทายกับการเรียนคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนในขั้นสูง และตระหนักได้ว่าคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของคนเรา สร้างการคิดอย่างเป็นเหตุ เป็นผล เป็นระบบ มีแบบแผน มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และยังเป็นรากฐานในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่นๆ อีกด้วย
 
  • Thinking Maths
  • C-P-A (Concrete-Pictorial-Abstract)

Thinking Maths

ไอเดียเปลี่ยนคณิตศาสตร์นามธรรมให้เป็นภาพ

แนวทางการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ผ่านภาพ หรือ แบบจำลอง แทนการท่องสูตรสำเร็จและแทนค่าด้วยตัวเลข จะช่วยเปลี่ยนเรื่องราว ที่ซับซ้อนเป็นนามธรรม และยากแก่การทำความเข้าใจให้กลายเป็นเรื่อง ที่เข้าใจง่ายชวนให้ผู้เรียนได้คิดและมองเห็นเรื่องราว

Thinking Maths

เป็นวิธีการที่มีพื้นฐานมาจากการเรียนคณิตศาสตร์ในประเทศสิงคโปร์ที่ทำให้เด็กๆ สิงคโปร์ได้รับคะแนนสอบเป็นอันดับต้นๆ ของโลกมาแล้ว การเรียนคณิตศาสตร์แบบนี้จะเปลี่ยนสิ่งที่เราสัมผัสหรือพบเห็นได้ในชีวิตจริงมาเป็นภาพหรือแบบจำลอง จนนำมาสู่คณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรม หรือที่เรียกว่า C-P-A (Concrete-Pictorial-Abstract)

สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กรักคณิตศาสตร์ไปตลอดชีวิต

Concrete คือการให้นักเรียนได้สัมผัสกับคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่พบเห็นได้จริง ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ลูกแก้ว เงิน การเปรียบเทียบกับสิ่งของ ที่จับต้องได้จริงจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก และทำให้เด็กอยากรู้จักกับ คณิตศาสตร์มากขึ้น
Pictorial จากนั้นจึงเปลี่ยนจากสิ่งของไปสู่การวาดภาพหรือโมเดลแทนสิ่งของ นักเรียนอาจวาดรูปวงกลมเพื่อแทนเหรียญ หรือวาดสี่เหลี่ยมเพื่อแทนกล่อง ในขั้นตอนนี้เด็กๆ จะรู้สึกถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งของที่จับต้องได้จริงไปสู่ สิ่งที่รูปภาพหรือแบบจำลอง
Abstract สุดท้ายคือการให้นักเรียนได้รู้จักการแปลงภาพ หรือโมเดล ที่รู้จักกันก่อนหน้านี้ มาเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร ต่างๆ
 
ลองเปรียบเทียบการหาคำตอบของโจทย์คณิตศาสตร์ร้อยละทั้ง 2 ข้อนี้กัน
สวนสัตว์แห่งหนึ่งมีสัตว์อยู่ทั้งหมด 120 ตัว เป็นสิงโต 2/6 ตัวของสัตว์ทั้งหมด เป็นยีราฟ 1/ 4 ตัวของสิงโต ที่เหลือเป็นฮิปโป สวนสัตว์แห่งนี้มีฮิปโปกี่ตัว
จากวิธีการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ทั้ง 2 แบบนี้ จะเห็นได้ว่า
 

วิธี A เป็นการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ด้วยแนวคิดคณิตศาสตร์เชิงนามธรรม ซึ่งอาจทำให้ผู้เรียนสับสน มองไม่เห็นภาพและเข้าใจยาก ในขณะที่

 

วิธี B เป็นแนวคิดการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่ใช้เทคนิค Bar Model ซึ่งเป็นการเรียนคณิตศาสตร์แบบ Singapore Maths ช่วยให้เด็กเกิดความรู้สึกเชิงจำนวนได้มากกว่าการท่องจำ

สิ่งสำคัญในการเรียน
คณิตศาสตร์แนวนี้
 

คือ การไม่เร่งรัดให้เด็ก ๆ ได้รู้จักเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์โดยทันที เพราะเสี่ยงต่อความเข้าใจในการเรียนคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ในทางตรงกันข้ามการสอนให้เด็กได้เห็นภาพความเป็นจริง และสิ่งที่จับต้องได้ก่อน จะทำให้เด็กไม่รู้สึกหวาดกลัวตัวเลข และเข้าใจว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวในชีวิตจริงจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เด็ก ๆ จะรู้ความหมายของการเรียน เข้าใจที่มาที่ไป และรักคณิตศาสตร์ในท้ายที่สุดนั่นเอง

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง