กลับมาเปิดเทอมครั้งนี้ ห้องเรียนของครูจะเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า?
กลับมาเปิดเทอมครั้งนี้ ห้องเรียนของครูจะเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า ?
เปิดเทอมนี้ ควรจัดการเรียนรู้ให้สามารถยืดยุ่นได้ และคำนึงถึงจากความหลากหลายปัจจุยต่าง ๆ ล้วนมีส่วนในการปรับวิธีการสอน การวัดประเมินผลการเรียนรู้ใหม่จึงจะช่วยชลอความรุนแรงของปัญหาการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
กลับมาเปิดเทอมครั้งนี้ ห้องเรียนของครูเปลี่ยนไปมากแค่ไหน ?
จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดมาหลายระลอก ทำให้การเรียนรู้ในห้องเรียนต้องปรับเปลี่ยน เป็นการเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งระบบการศึกษา โรงเรียน ครู และผู้เรียน การเรียนรู้จึงมีการปรับใหม่ และเกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ เพื่อแก้ปัญหาในจุดนี้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน หรือผ่านการเรียนรู้แบบดิจิทัล พร้อมความร่วมมือจากผู้ปกครอง ที่เข้ามาร่วมมือช่วยให้การศึกษาของผู้เรียนไม่มีสะดุด
แต่อย่างไรทั้งหมดแล้วก็คงจะสู้การสอนที่เข้มข้นแบบเจอกันในห้องเรียนไม่ได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งพื้นที่ห่างไกล ขาดความพร้อมในการเรียนรู้ อุปกรณ์ แหล่งข้อมูลออนไลน์ จึงทำให้การสอนของครูต้องถูกตัดบางขั้นตอนที่ซับซ้อน เพื่อไม่ให้เป็นเรื่องยากของผู้เรียนมากจนเกินไป
กลับมาเปิดเทอมครั้งนี้ ความรู้ของผู้เรียนอาจจะไม่เท่ากัน ครูจะแก้ปัญหาอย่างไร?
แนวทางการจัดการศึกษาที่สามารถยืดหยุ่นได้
โดยคำนึงถึงความหลากหลาย วิธีการสอน การวัดประเมินผลการเรียนรู้ใหม่ ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่จะชลอความรุนแรงของปัญหาการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
การวัดและประเมินผลกันใหม่อีกครั้ง
มาปรับและเปลี่ยนกันใหม่ ติดตามให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอาการถดถอยทางด้านการเรียนรู้ตอนสอนออนไลน์ ที่เกิดจากความไม่พร้อมของครู และผู้เรียนในด้านอุปกรณ์ หรือแม้แต่สุขภาวะในการเรียนรู้ ที่อาจจะยังไม่พร้อมรับมือกับการเรียนออนไลน์ ส่งผลให้ต้องกลับมาวัดแลประเมินผลกันใหม่อีกครั้ง
วางแผนการจัดการเรียนรู้
บทบาทและหน้าที่ของบุคลากรทุกคนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการเปิดเทอมครั้งนี้ ด้วยระยะเวลา การสลับวันเรียน มาตรการเว้นระยะห่าง การเตรียมทรัพยากร และงบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในห้องเรียนและรูปแบบออนไลน์เพื่อปรับให้ทันตามสถานการณ์ได้ทันท่วงที
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน
เปิดเทอมครั้งนี้ลองเปลี่ยนการสอนในรูปแบบใหม่ เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนและครู เพิ่มประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถและเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม การปรับเปลี่ยนนี้จะช่วยให้ครูและผู้เรียนมีสุขภาวะทั้งกายและจิตใจมากยิ่งขึ้น
นวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนผู้เรียน
พัฒนารูปแบบการสอน ด้วยการสร้างกิจกรรมที่หลากหลาย ร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนมีบทบาทหลักในการออกแบบเครื่องมือ และวิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อวัดและประเมินผลผู้เรียน รวมถึงบันทึกการสอนเพื่อสะท้อนผลที่เกิดจากนวัตกรรมการเรียนรู้หลังจบบทเรียน
ติดตามผลอย่างใกล้ชิด
เพื่อประเมินความก้าวหน้า และติดตามผลสะท้อนของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน เพราะการติดตามอย่างใกล้ชิดนั้นมีส่วนช่วยให้ครูถอดบทเรียนการสอนและจากบันทึกหลังสอน เพื่อนำไปปรับปรุงในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งถัดไป หากได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับกลุ่มครูในโรงเรียน หรือระดับเครือข่ายก็จะได้จะยิ่งเพิ่มพูนในการแก้ไขปัญหามากยิ่งขึ้น
กลับมาเปิดเทอมครั้งนี้ ยังมีอีกหลายความท้าทายที่ครูจะได้เจอ
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นแรงผลักดันให้เด็ก ๆ ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้คงเป็นครูผู้สอนที่ต้องคอยช่วยเหลือ สนับสนุนผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน และยังคงมีความท้าทายในเรื่องของการดูแลความเสมอภาคของผู้เรียน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ รวมถึงการจัดการทางด้านอารมณ์ความเครียดของผู้สอน และผู้เรียนซึ่งก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ
อักษรจะคอยช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ในทุกรูปแบบ เพื่อให้การเรียนสอนของครู และการเรียนรู้ของผู้เรียน ดำเนินไปได้อย่างไม่มีสะดุด และขอเป็นกำลังใจให้ครูทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูลและการอ้างอิง
บทความเรื่อง โควิด-19 กับการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดย Starfish Academy
https://www.starfishlabz.com/blog/509-โคว-ด-19-กับการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่น ๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
บทความที่เกี่ยวข้อง