ทดลองวิทยาศาสตร์ คิดสอนอย่างไร

ทดลองวิทยาศาสตร์ คิดสอนอย่างไร

วิทยาศาสตร์

 

  • การสอนวิทยาศาสตร์มีรูปแบบมากมาย ทั้งการสอนแบบทดลอง สาธิต การอภิปรายกลุ่มย่อย 

  • การทดลองคือหนึ่งวิธีการสอนในรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model) ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

วิทยาศาสตร์ อักษร

 

   การทดลองเป็นวิธีสอนที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้จากประสบการณ์ตรง เพื่อสร้างทักษะการคิดและลงมือทำด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ครูมีส่วนสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การทดลอง การตั้งสมมติฐาน การลงความเห็นจากข้อมูลการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลก่อนการทดลอง 


   รูปแบบการสอนด้วยการทดลองในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ครูต้องทำหน้าที่เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนเห็นผลลัพธ์ของการทดลองด้วยตนเอง ครูต้องคิดวางแผนอย่างไร ทำหน้าที่อย่าไรบ้าง บทความนี้ขอแบ่งด้วยการทดลองเป็น 3 ตอน คือ

 

วิทยาศาสตร์ อจท

 

1. ก่อนการทดลอง

  • เพื่อสร้างความมั่นใจในการสอน ครูควรทดลองด้วยตนเองก่อน เพื่อวางแผนการสอน ตั้งโจทย์คำถาม พร้อมหาแนวทางในการแก้ปัญหา วางแผนการเตรียมเครื่องมือ หรือมอบหมายให้ผู้เรียนเตรียมอุปกรณ์จากที่บ้าน หรือประดิษฐ์เองล่วงหน้าเพื่อกระตุ้นความสงสัยกับสิ่งที่จะเรียนรู้ในห้องเรียน
  • ครูตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียน ก่อนที่จะทดลองกับเครื่องมือที่ครูและผู้เรียนร่วมกันเตรียม โดยครูสนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยการอภิปราย เพื่อวางแผนการทดลอง (ในภาคทฤษฏี) เมื่อทราบแนวทางแล้วจึงเป็นหน้าที่ของผู้เรียนทำการทดลองต่อไป (ภาคปฏิบัติ)
  • ครูให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 - 4 คน โดยทดลองแบบเดียวกัน เพื่อช่วยกันศึกษาขั้นตอนการทดลองและวางแผน ช่วยกันติดตั้งเครื่องมือ ร่วมกันสังเกต บันทึกผล และอภิปรายผลการทดลองภายในกลุ่ม เมื่อมีปัญหาระหว่างการทดลองจะได้ช่วยกันแก้ปัญหา

  

แผนการสอน วิทยาศาสตร์

 

2. ระหว่างผู้เรียนทำการทดลอง

   ครูคือผู้อยู่เบื้องหลังการทดลอง คอยสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษา สำรวจตามกลุ่มต่าง ๆ ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง อภิปรายกับกลุ่มที่มีข้อสงสัย หากกลุ่มไหนดูเหมือนว่าจะทดลองออกนอกทาง  ครูไม่ควรชี้ว่าผิด แต่ควรใช้การซักถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยกันเองว่าควรเปลี่ยนแนวทางหรือไม่  ในขั้นตอนนี้ครูสามารถประเมินผู้เรียนด้วยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนแต่ละคนจากการตอบคําถาม การทํางานรายบุคคล การทำงานกลุ่ม 

 

สื่อการเรียน วิทยาศาสตร์

 

3. หลังจากการทดลองแล้ว

   หลังการทดลอง ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการทดลองร่วมกันภายในกลุ่ม ครูให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน ส่วนครูทำหน้าที่ป้อนคำถามเพื่อให้เพื่อนร่วมชั้นอภิปรายผลการทดลองของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร เกิดปัญหาอย่างไร เกิดข้อผิดพลาดตรงไหน แล้วให้นักเรียนช่วยกันสรุปผลทดลองที่ดี    

   เมื่อสรุปผลการทดลองแล้ว ครูควรมีการอภิปรายผลการทดลองหน้าชั้น บอกถึงจุดบกพร่องระหว่างการทดลอง เพื่อเน้นประเด็นสำคัญ หรืออาจจะมีการสาธิตประกอบ และแนะนำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมด้วยการกลับไปทบทวนเนื้อหาจากหนังสือเรียน หรือแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนสิ่งที่เรียนมาเพื่อเข้าใจดียิ่งขึ้น

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่นๆ ได้ที่  >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่  >>> คลิก <<<

 
แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง