สอนคิด สร้างนักวิทยาสตร์ ด้วยสื่อดิจิทัล

สอนคิด สร้างนักวิทยาศาสตร์ ด้วยสื่อดิจิทัล

 

นักวิทยาศาสตร์

 

 

 

"เด็ก ๆ ใครรู้บ้างว่านี่คือดินอะไร? เคยสงสัยไหมว่าดินเกิดจากอะไร?"
• การตั้งคำถามเพื่อวัดความรู้เดิม

ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คุณครูควรเริ่มจากการตรวจสอบความรู้เดิมหรือประสบการณ์ของผู้เรียน ว่ามีความรู้ในเรื่องดินมากน้อยแค่ไหน เป็นการตั้งคำถามหรือหากิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ การหาประโยคที่ทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกกดดัน เป็นการเปิดประเด็นคำถามให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกสนาน โดยคุณครูอาจจะเอ่ยปากชม ทำได้ดีมากค่ะ ขอบคุณค่ะ เพื่อเป็นกำลังใจ สร้างความมั่นใจในการตอบคำถาม และทำให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วมกับเรื่องที่คุณครูต้องการสอน  

• เรียนรู้คำศัพท์
เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนของการซักถามว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้เรื่องดินมากน้อยขนาดไหน อีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจคือการให้ผู้เรียนได้รู้จักคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และความหมายของดินที่คุณครูสามารถสร้างเป็นกิจกรรมได้จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ฯ ของอักษร (  ลิงก์หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ฯ:   https://www.aksorn.com/store/2/product-details-277 )

 

วิทยาศาสตร์ อักษร

 

 

คุณครูอาจจะให้ผู้เรียนอ่านไปพร้อมกัน หรือเรียกตัวแทนมาเป็นผู้นำในการอ่าน พร้อมอธิบายความหมายไปพร้อม ๆ กัน 

 

วิทยาศาสตร์ดิน อักษรวิทยาศาสตร์ดิน

 

คุณครูอาจนำบัตรคำหรือบัตรภาพ จากแผนฯ เพื่อเสริมความเข้าใจเรื่องดินได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  (แผนฯ วิทยาศาสตร์จากอักษร : https://bit.ly/2NR7lF8)    เช่น “ภาพดินทั้ง 2 ภาพ มีความแตกต่างกันไหม?” แล้ว “เด็ก ๆ คิดว่า ดินในภาพเหมาะกับการปลูกพืชชนิดใด?” เป็นการตั้งคำถามสู่กิจกรรมการทดลอง ที่สามารถเพิ่มสีสันในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ได้ 

• เสริมความรู้เรื่องดิน ให้เข้าใจได้ดีกว่า! ด้วยสื่อดิจิทัล
สื่อดิจิทัล สื่อประกอบการสอนที่น่าสนใจสำหรับคุณครูในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ช่วยอธิบายและเสริมความเข้าใจเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ช่วยกระตุ้นการเรียนการสอน และสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีในห้องเรียนยกตัวอย่างการสอนเรื่องดิน การเรียนรู้เนื้อหาจากในหนังสือเรียน ออกแบบกิจกรรมการทดลอง คุณครูสามารถเสริมการเรียนรู้ด้วยสื่อดิจิทัล ประกอบด้วย

 

วิดีโอ วิทยาศาสตร์ เรื่องดิน

คลิปวิดีโอประกอบการสอน

เพียงสแกน QR Code จากหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น ป.2 เล่ม 2 เรื่องดิน ที่มีการสรุปเนื้อหาชัดเจน เข้าใจง่าย

พร้อมเสียงประกอบที่ช่วยให้ผู้เรียนเพลิดเพลินกับการเรียนรู้เรื่องดิน ให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาเรื่องดินได้ดีมากยิ่งขึ้น

 

interactive 3d วิทยาศาสตร์

Interactive 3D

คุณครูสามารถให้ผู้เรียนฝึกทำโจทย์ และกิจกรรมในแบบฝึกหัดฯ ควบคู่ไปกับการสแกน QR code เพื่อพบกับสื่อดิจิทัล Interactive 3D สื่อการเรียนรู้เสมือนจริง ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างทักษะการนำเสนอ ช่วยครูอธิบายเนื้อหาเปลี่ยนเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ช่วยคุณครูออกแบบกิจกรรมการสอนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์

 

PowerPoint วิทยาศาสตร์

PowerPoint

สื่อประกอบการสอนที่น่าสนใจสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ช่วยเสริมการสอนในบทเรียน ช่วยสรุปเนื้อหาเป็นขั้นตอน เพิ่มสีสันการสอนด้วยภาพเคลื่อนไหว กระตุ้นความสนใจให้การเรียนรู้สนุก สร้างจินตนาการเพื่อต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครู และผู้เรียน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ ให้ผู้เรียนรักวิชาวิทยาศาสตร์ฯ มากกว่าเดิม

 

• เข้าสู่การตอบคำถามท้าทายการคิดขั้นสูง
 เพื่อฝึกทบทวน และตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ ว่าผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้หรือไม่  โดยคุณครูอาจจะเพิ่มบททดสอบด้วยกิจกรรมท้าทายการคิดขั้นสูง เช่น ดินที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดคือดินชนิดใด และใช้ประโยชน์อย่างไร  จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วให้ผู้เรียนร่วมกันเฉลย หรือมอบหมายเป็นการบ้าน

 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์แสนสนุก สร้างกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จากเรื่องใกล้ตัวให้เข้าใจง่าย สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้จริง ด้วยสื่อฯ การเรียนรู้จากอักษร ที่ตอบโจทย์ห้องเรียนวิทยาศาสตร์แบบครบวงจร  เพื่อให้คุณครูพิชิตทุกคำถามข้อสงสัย เรียนรู้เรื่องดิน แบบฟินกระจาย

ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้น ป.2 เล่ม 2

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่นๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

 

 

 

 

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง