กลยุทธ์วอร์มห้องเรียนของครูให้อุ่นอยู่เสมอ

 

กลยุทธ์วอร์มห้องเรียนของครูให้อุ่นอยู่เสมอ

 

ภาพปกบทความเรื่องกลยุทธ์วอร์มห้องเรียนของครูให้อุ่นอยู่เสมอ

 

 

 


                 

 

 

 


กลยุทธ์ที่ดีจะต้องดึงดูดนักเรียนได้ทันทีที่เข้ามาในห้องเรียน

กลยุทธ์การกระตุ้นในห้องเรียนของคุณครูไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อาจได้รับความสนใจน้อยกว่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อคุณครูเน้นไปที่การเข้าสู่เนื้อหาอย่างรวดเร็ว คุณครูคณิตศาสตร์ท่านหนึ่งในแอตแลนตาเล่าว่า “เขาเคยเริ่มห้องเรียนด้วยการให้นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาบนกระดาน และคาดหวังไว้ว่านักเรียนจะลงมือแก้โจทย์ปัญหาในทันทีที่เข้ามา” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือ จากนักเรียน 30 คน มีเพียง 5 คน ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้โจทย์ปัญหาอย่างขยันขันแข็ง ส่วนนักเรียนที่เหลือ จะใช้เวลากับการเหลาดินสอไปจนถึงการหรี่ตา ขยิบตาเพิ่มเล็กน้อย และมองที่กระดานทำเหมือนว่ากำลังครุ่นคิด

 

 

“การต่อสู้กับความไม่สนใจของนักเรียนจะชนะได้ เมื่อเราใส่ใจกับทุกนาที โดยนำประสบการณ์ที่เคยออกแบบการเรียนรู้มากระตุ้นความสนใจ กระตุ้นความรู้เดิมของนักเรียน และเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน”

Chandler, a professor at Brigham Young University-Idaho   and former middle school teacher.

 

 


แล้วจะวางกลยุทธ์ของห้องเรียนให้ดีกว่าครูท่านนี้ได้อย่างไร?

แน่นอนว่าบางวันคุณครูจะเลือกวางกลยุทธ์ให้ทำกิจกรรมแบบเดิม ๆ แต่บางครั้งการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่ได้ ดังนั้นคุณครูจึงมีบทบาทสำคัญ และเป็นผู้กำหนดทิศทางของบทเรียนในแต่ละครั้ง และนี่คือวิธีเริ่มต้นกลยุทธ์สุดสตรองเพื่อให้ได้ห้องเรียนอย่างที่ครูต้องการ โดยออกแบบมาเพื่อสร้างการคิด เชื่อมโยงความรู้เดิม และสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อดึงดูดนักเรียนให้เข้าสู่เนื้อหาได้อย่างง่ายดาย

 

 

 

เปิดกลยุทธ์วอร์มห้องเรียนของครูให้อุ่นอยู่เสมอ

LINK TO WHAT THEY KNOW - กลยุทธ์เชื่อมโยงความรู้ของนักเรียน

เริ่มต้นห้องเรียนโดยใช้เวลาสักครู่ในการให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับเนื้อหาใหม่ ซึ่งกลยุทธ์นี้เรียกว่า “การดูตัวอย่าง” ช่วยให้นักเรียนได้รื้อฟื้นความจำ ดึงศักยภาพที่มีของนักเรียน สู่การสร้างความรู้ที่คงทนยิ่งขึ้น และเหมาะอย่างยิ่ง “โดยเฉพาะกับนักเรียนที่มีความรู้พื้นฐานจำกัด”

 

BAIT AND SWITCH - กลยุทธ์หลอกล่อ และปรับเปลี่ยน

เริ่มต้นห้องเรียนด้วยการชวนอภิปรายร่วมกันสั้น ๆ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เรื่องมหาสมุทร ความเข้าใจผิดของนักเรียนอาจจะเป็น "มหาสมุทรทั้งหมดมีความเค็มเท่ากัน" หรือ "ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ในโคลนที่เป็นพิษ" หรือคุณครูอาจจะลองให้นักเรียน “ทำแบบทดสอบ” โดยให้ตอบว่าถูกหรือผิดอย่างรวดเร็ว โดยเนื้อหาควรเป็นลักษณะว่า “ข้อมูลทั้งหมดดูน่าเชื่อถือแต่ความเป็นจริง กลับเป็นเรื่องเท็จทั้งหมด” โดยการกำหนดหัวข้อนั้น ๆ คุณครูจะต้องให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นก่อนที่จะเปิดเผยในห้องเรียนว่าข้อความในแบบทดสอบทั้งหมดเป็นเรื่องเท็จ เพื่อให้พวกเขาได้ค้นคว้า ตามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของบทเรียนนั้นว่าเป็นอย่างไร

 

INFORMATIONAL HOOKS - กลยุทธ์การให้ข้อมูลที่กระชับ

กลยุทธ์นี้ออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนสนใจในบทเรียนล่วงหน้า ซึ่งข้อมูลที่คุณครูให้อาจเป็นเพียงการให้เรียนรู้เพียงระยะสั้นแต่ตรงตามเป้าหมาย เช่น วิดีโอคลิป พอตแคสต์ หัวข้อข่าว หรือแม้แต่รูปภาพเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สามารถนำมาใช้ได้ โดยคุณครูจะต้องพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ว่าสิ่งนั้น

จะเน้นให้ได้เรียนรู้แนวคิด หรือทักษะอะไร และอะไรคือความแปลกใหม่ หรือมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่? เพื่อดึงความสนใจของนักเรียน

 

PRODUCTIVE FAILURE - กลยุทธ์ผลตอบแทนของความล้มเหลว

กลยุทธ์นี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ ที่ออกแบบให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมการแก้ปัญหาสั้น ๆ เป็นครั้งคราว โดยเน้นแนวคิดที่ไปสู่เป้าหมายสมรรถนะสำคัญเพื่อเป็นการกระตุ้นก่อนที่จะเข้าสู่การสอน ซึ่งปัญหาที่ออกแบบไว้ควรเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือความรู้ในห้องเรียน และออกแบบมาเพื่อกระตุ้นความรู้เดิม กระตุ้นให้พวกเขาได้แสดงศักยภาพ หรือสิ่งที่พวกเขาทำ แต่ยังไม่รู้ความหมาย ในบทเรียนนี้นักเรียนจะเกิดความสับสน น่าหงุดหงิด และการอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ลองปล่อยให้นักเรียนได้ต่อสู้กับปัญหาสัก 2-3 นาที จากนั้นคุณครูถึงเข้าไปช่วยสร้างแนวคิด แนวทางแก้ไข และสอนวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

 

VOCABULARY SPLASHES - กลยุทธ์สาดศัพท์แสง

กลยุทธ์นี้คุณครูลองให้นักเรียนนำเสนอคำศัพท์ หรือแนวคิดสำคัญ พร้อมกับคำจำกัดความสั้น ๆ  จากนั้นให้นักเรียนแบ่งกลุ่มปรึกษาหารือกัน เพื่อเลือกคำศัพท์ หรือแนวคิดสำคัญที่เหมาะสมกับตนเอง “จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายว่าคำศัพท์ และแนวคิดที่เลือกเกี่ยวข้องกันอย่างไร” และหากนักเรียนสามารถเชื่อมโยงกับ “ความสนใจ และความรู้เดิม” ก็จะได้คะแนนเพิ่มอีกด้วย

 

RAPID REVIEW OR, MAKE IT CHATTY - กลยุทธ์การทบทวนอย่างรวดเร็ว หรือปรึกษาหารือ

กลยุทธ์นี้อยากให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน โดยให้หารือร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้ตรวจสอบความรู้เกี่ยวกับชั้นเรียนก่อนหน้าเป็นวิธีที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และช่วยให้คุณครูรู้ได้ว่านักเรียนยังติดขัดกับเนื้อหาอะไรจากบทเรียนของวันก่อน

 

COLD OPENS - กลยุทธ์แบบปล่อยใจจอย ๆ

กลยุทธ์นี้จะเริ่มชั้นเรียนด้วยการให้นักเรียนเห็นข้อความที่สนุกสนานบนกระดาน โดยออกแบบมาเพื่อชักชวนให้สนทนา ตัวอย่างเช่น “วันนี้วันพุธหรอ? ว้าว! ครึ่งทางแล้ว!” หรือ “เอ…จัดสอบสัปดาห์หน้าดีไหมนะ?" จากนั้นก็ชวนนักเรียนแสดงความเห็นกันสั้น ๆ เกี่ยวกับข้อความบนกระดาน และตามด้วยการเปิดสไลด์นำเสนอเรื่องราวที่อาจจะไม่ต่อเนื่องกับบทเรียนมากนัก ซึ่งวิธีนี้มีแนวคิดเพื่อสร้างการสนทนาเพิ่มเติมระหว่างการสอน "อาจเป็นคำถามเล็กน้อยเกี่ยวกับสัตว์บกที่เร็วที่สุดห้าอันดับแรก” เพื่อให้นักเรียนได้กระตือรือร้น และตั้งข้อสังเกต

 

ATTENDANCE QUESTIONS - กลยุทธ์คำถามท้าทายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน

เมื่อบทสนทนาในห้องเรียนจบลงการปิดด้วยคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียน นับเป็นการวัดผลของการเข้าร่วมที่ดี โดยสามารถเชื่อมโยงกับช่วงปล่อยใจจอย ๆ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แบ่งปันสิ่งที่ตนเองเข้าใจร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนอีกด้วย

 

 

 

กลยุทธ์วอร์มห้องเรียนของครูคุ้มค่าที่จะลองไหม?

ช่วงแรก ๆ ที่ใช้เวลาในห้องเรียนก็เหมือนกับช่วงเริ่มต้นของนิยาย อาจจะเริ่มช้า กว่าจะเข้าใจ แต่ผลสุดท้ายจบสวยแน่นอน เพราะกลยุทธ์การวอร์มห้องเรียนเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครู การเริ่มต้นเข้าบทเรียน ตามด้วยเนื้อหา เพื่อไปสู่กุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียน การวางกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการช่วย “วอร์มห้องเรียนให้อุ่นอยู่เสมอ” ทั้งเนื้อหาสาระ การมีส่วนร่วม หรือแม้แต่ความสนุกสนานที่ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

 

ดังนั้นกลยุทธ์ของการดึงดูดให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในห้องเรียนต้องอาศัยการฝึกฝน ลองผิดลองถูกอยู่บ่อยครั้ง แต่คุณครูจะรู้สึกได้ถึงความคุ้มค่ากับแรงที่ลงไปอย่างแน่นอนครับ

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. Active Learning อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

 
 

 

Share

Relate article