ICT เพื่อการศึกษา … ความหวังยิ่งใหญ่ของไทยทั้งชาติ (หรือเปล่านะ?!?!?)

 

ICT เพื่อการศึกษา … ความหวังยิ่งใหญ่ของไทยทั้งชาติ (หรือเปล่านะ?!?!?)

 

 

เวลาเราคุยเรื่องการยกระดับการศึกษา เรามักจะฝากความหวังยิ่งใหญ่ไว้กับ “ICT เพื่อการศึกษา” ทั้งนโยบายรัฐทั้งคอมเม้นท์จากท่านกูรู (กูรู้) ทั้งหลายก็วาดฝันไว้ให้สวยหรูว่า “ICT เพื่อการศึกษา” จะมาเป็นอัศวินม้าขาวที่จะมาช่วยดึงประเทศไทยให้พ้นจากกับดักการพัฒนาด้านการศึกษา มาดูกันครับว่าความหวังและความฝันเกี่ยวกับ ICT เพื่อการศึกษาเหล่านี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่น่าเชื่อถือไหม

 

 

ก. ปริมาณการใช้ ICT ที่โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับผลการสอบ PISA อย่างไร

 

 

 

แผนภูมินี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ ICT ที่โรงเรียน “ไม่มี” ความสัมพันธ์กับผลการสอบ PISA

 

กรุณาสังเกตุประเทศที่มีผลการสอบ PISA อยู่อันดับต้นๆของโลก เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้ ฟินด์แลนด์ ประเทศเหล่านี้มีพฤติกรรมการใช้ ICT ในห้องเรียนแตกต่างกันมาก

 

– เกาหลีใต้ (ซึ่ง ศธ. ส่งคนจำนวนมากไปดูงานด้าน ICT เพื่อการเรียนการสอน) ใช้ ICT ในห้องเรียนน้อยที่สุดใน 42 ประเทศที่อยู่ในแผนภูมินี้
– สิงคโปร์ ใช้ ICT ในโรงเรียนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของ 42 ประเทศที่อยู่ในแผนภูมิ
– ฟินแลนด์ ใช้ ICT ในโรงเรียนมากกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย

 

ขอย้ำอีกครั้งว่าแผนภูมินี้ไม่ได้บอกว่า ICT มีผลด้านบวกหรือผลด้านลบผลต่อการเรียนรู้ แผนภูมินี้บอกเพียงว่าการใช้ ICT ในห้องเรียนไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลการเรียนรู้ของนักเรียน
 

 

ข.    แล้วอะไรหล่ะที่มีผลต่อการเรียนรู้???

 

Good Pedagogy and Teacher Readiness การสร้างให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้อย่างลึกซึ้ง และ การสร้างให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่ เกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู และ นักเรียนในรูปแบบการเรียนการสอนที่ครูกลายเป็นโค้ช

 

ผู้อำนวยการเรียนรู้ เราต้องระวังในการโยนเทคโนโลยีใส่เข้าไปห้องเรียน เพื่อไม่ให้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวกีดขวางการพูดคุยกันระหว่างครูและนักเรียน เทคโนโลยีจะต้องช่วยให้ครูและนักเรียนทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น การออกแบบกระบวนการสอนสมัยใหม่จะต้องช่วยให้ครูมั่นใจที่จะหยิบเลือกใช้เทคโนโลยี มาเสริมการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมกับบริบทในห้องเรียนของตนเอง

 

สรุปสั้นๆ คือ การนำเอาเทคโนโลยีถมเข้าไปในโรงเรียนคงไม่สามารถช่วยยกระดับการเรียนรู้ได้ หากแต่เราต้องหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับการสร้างครูให้พร้อมและสร้างกระบวนการสอนสมัยใหม่ได้ดีขึ้น

 

 

ขอจบด้วย quote จากบทนำของรายงาน OECD เรื่อง Students, Computers and Learning: Making the Connection    ซึ่งกล่าวไว้ว่า

 

 

“Technology can amplify great teaching BUT great technology CANNOT replace poor teaching.”

 


 

 

 

 

 

หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก
OECD, Students, Computers and Learning: Making the Connection (2015), pp. 3-4, 53, Figure 2.3
Share

Relate article

No relate article