หมดยุค “นโยบายใต้แสงเทียน”

 

หมดยุค “นโยบายใต้แสงเทียน”

 

 

เข้าสู่ยุค Researched-based education policies

 

ช่วงนี้ประเทศไทยกำลังเห่อเรื่องปฏิรูปการศึกษา มีคนเสนอไอเดียมากมายที่น่าเอามาใช้  เวลาคุยเรื่องการศึกษาเราทุกคนจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้รู้ เพราะว่าเราทุกคนผ่านระบบโรงเรียนมา 12 ปี

 

หากแต่เรากำลังแก้ปัญหาวงกว้างน่าจะต้องเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาจับและวางแนวนโยบายแบบ research-based policies

 

 

ไทยเราเละเทะมาหลายปีก็เพราะนโยบายการศึกษาตั้งอยู่บนนโยบายอิงความรู้สึกว่า “ที่ฉันคิดมาเนี่ยเลิศแล้ว” ใครเข้ามาใหม่ก็สั่งจะเอาโน่นเอานี่ เพราะคิดว่าตนเองเป็น “ผู้รู้”  แล้วเสนอ และ/หรือสั่งการในรูปแบบ candle-light-based policies นโยบายใต้แสงเทียน

 

ในเรื่องการศึกษา หากจะมองหากรณีศึกษาของคนที่ทำสำเร็จเป็นจุดๆ เราก็จะเห็นกรณีศึกษาที่มาเล่าได้ไม่รู้จบ

 

หากเปรียบอุปมากับกรณีนายสมชายปวดท้องเรื้อรัง มีกรณีศึกษามากมายว่ารักษาด้วยวิธีโน้นวิธีนี้แล้วหายตั้งแต่ กินยาฝรั่ง ยาไทย ยาจีน ไปไหว้พระ ไปหาหมอผี ไปฝึกจิต ซึ่งทุกกรณีศึกษาล้วนสำเร็จจริงๆ หากแต่เรายังไม่ได้ดูสถิติว่า probability ที่จะนำมาใช้รักษานายสมชายให้หายนั้นมากน้อยเพียงใด ในทางการแพทย์จึงต้องใช้ systematic approach โดยดูจากค่าสถิติในการรักษาให้หายก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่มีโอกาสสูงที่สุดในการรักษานายสมชายให้หายป่วย
 

Share

Relate article

No relate article