7 วิธีที่ไม่ต้องใช้ข้อสอบก็ประเมินนักเรียนได้

 

7 วิธีที่ไม่ต้องใช้ข้อสอบก็ประเมินนักเรียนได้

 
ภาพปกบทความเรื่อง7 วิธีที่ไม่ต้องใช้ข้อสอบก็ประเมินนักเรียนได้
 

 

 

เพราะการประเมินนักเรียนไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ คุณครูหลายคนอาจมองข้าม และเน้นเรื่องของการจัดการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว แต่คุณครูทราบหรือไม่ว่าข้อดีของการประเมินนักเรียนนั้นดีต่อคุณครู และนักเรียนของเราอย่างไร อย่างแรก : ทำให้คุณครูทราบข้อมูลเบื้องต้นในด้านต่าง ๆ ของนักเรียนว่าเราควรพัฒนา หรือดึงศักยภาพด้านไหนของนักเรียนออกมา อย่างที่ 2 คุณครูยังสามารถนำข้อมูลหลังจากการประเมินมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการสอน หรือกำหนดจุดมุ่งหมาย เทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนได้อย่างตรงจุด อย่างที่ 3 การประเมินนักเรียนยังบอกได้อีกว่าเราสามารถสอนนักเรียนให้เข้าใจเนื้อหาได้มากน้อยขนาดไหน ซึ่งหน้าที่นี้คุณครูมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก และจะดีแค่ไหนถ้าคุณครูนำการประเมินนักเรียนมาร่วมกับการสอนในห้องเรียน เพื่อให้เกิดการสอนที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น

 

การประเมินนักเรียนที่ไม่จำเป็นต้องใช้การวัดผลด้วยข้อสอบเสมอไป

จากบทความของ TeachThought องค์การชั้นนำที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาโลกได้เขียนเรื่องของการประเมินนักเรียนไว้ได้น่าสนใจมากว่า “การประเมินนักเรียนไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อสอบเพื่อวัดผลการเรียนของเด็ก ๆ เพียงเท่านั้น แต่มันยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถใช่ตรวจสอบผลการเรียน และความสามารถในด้านต่าง ๆ ของนักเรียน” บทความนี้นำ 7 วิธีลัด ช่วยให้คุณครูสามารถประเมินนักเรียนได้ง่ายกว่าการออกข้อสอบแบบเดิม ๆ มาฝากกันครับ

 

การประเมินนักเรียนในรูปแบบข้อสอบ

 

  •  
  • 1. การประเมินนักเรียนก่อน-หลังเรียน ในรูปแบบที่ไม่เน้นเชิงวิชาการมากไป

จะดีกว่าไหมถ้าเรารู้ว่านักเรียนแต่ละคนมีความรู้มากน้อยแค่ไหนก่อนเริ่มเรียน หรือมีปัญหาด้านไหนก่อนสอบจริง เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะซักถามคุณครูเมื่อเกิดความสงสัย วิธีนี้จะใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจอย่างรวดเร็ว สามารถใช้ได้ทั้งก่อน และหลังเรียน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ดูว่านักเรียนเข้าใจมากน้อยขนาดไหน ซึ่งการตั้งคำถามขึ้นอยู่กับช่วงเวลา และความเหมาะสม เช่น ก่อนเริ่มเรียนควรเป็นคำถามสั้น ๆ เพื่อเช็กความเข้าใจ โดยคุณครูอาจตั้งคำถาม และเขียนไว้บนกระดานแล้วให้นักเรียนในห้องช่วยกันหาคำตอบ หรือช่วงหลังเรียนอาจเป็นการตั้งคำถามในเชิงหัวข้อสนทนากับเรื่องที่เรียนมา ให้นักเรียนคาดการณ์กับเพื่อน ๆ ร่วมกัน หรือจะใช้วิธีที่ง่ายกว่านั้นเพื่อเข้าถึงใจนักเรียนด้วยสื่อดิจิทัลทั้งหลาย โปรแกรมต่าง ๆ กระตุ้นการตอบคำถามของนักเรียน เช่น การสร้างแบบสำรวจเชิง Socrative (แอปพลิเคชันที่ช่วยสร้างแบบทดสอบเพื่อประเมินนักเรียน หรือ Quizlet เกม และเครื่องมือในชั้นเรียน เช่น Quizalize Kahoot FlipQuiz Gimkit Plickers และ Flippity ซึ่งเราสามารถออกแบบคำถามได้ด้วยตัวเอง ทำให้คุณครูสามารถประเมินความเข้าใจนักเรียนว่าพวกเขาเข้าใจบทเรียนมากแค่ไหน

 

  • 2. เทคนิคตั๋วออก Exit Ticket

เทคนิคตั๋วออก หรือ Exit Ticket เป็นการประเมินนักเรียนอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนให้เห็นเป็นภาพใหญ่ ซึ่งจะใช้ในช่วงหลังการสอน ลองให้นักเรียนทุกคนได้สะท้อนความรู้จากสิ่งที่เรียนในคาบนั้น ๆ โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นใหญ่ ๆ เพื่อเช็กความเข้าใจของนักเรียน คือ

2.1) ให้สรุปความรู้เรียนในวันนั้น

2.2) ปัญหาในการเรียนวันนั้น

2.3) จะนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร

2.4) นักเรียนอยากรู้อะไรเพิ่มเติมอีก เป็นต้น

และนำมาเป็นข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น

 

การประเมินนักเรียนในรูปแบบการนำเสนอหรือเล่าเรื่อง

 

 

  • 3. ประเมินนักเรียนผ่านวิธีการนำเสนอ หรือเล่าเรื่อง

หาเวลาหมาะ ๆ เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ หรือแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่พวกเขาถนัดออกมา ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ หากนักเรียนชอบ หรือสนใจเรื่องไหน เรื่องนั้นจะเป็นสิ่งแรก ๆ ที่นักเรียนจะกล้าแสดงความคิดเห็นออกมา หรือมีความพร้อมที่จะมานำเสนอหน้าชั้นเรียนให้เพื่อน ๆ ฟัง ซึ่งวิธีการประเมินนักเรียนด้วยการนำเสนอ และการเล่าเรื่องยังช่วยกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดในสิ่งที่พวกเขาได้จากการเรียน รู้ว่าพวกเขาควรปรับใช้ในชีวิตจริงอย่างไร และที่สำคัญการนำเสนอ หรือการเล่าเรื่องจะช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะการออกเสียง และการตีความ (การพูดและการฟัง) อีกด้วย

 

  • 4. การประเมินจากการอภิปราย หรือสัมภาษณ์ 5 นาที

เป็นการประเมินนักเรียนแบบเชิงลึก ที่ต้องใช้วิธีการอภิปราย หรือสัมภาษณ์นักเรียน แต่ลองปรับให้ดูสบาย ๆ มากขึ้น เป็นกันเองมากขึ้น อาจให้มาเป็นกลุ่มเลย หรือโชว์เดี่ยวแค่คนละ 5 นาที เพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น เล่าเรื่อง หรือแชร์ความคิดเห็นที่มีกับเพื่อน ๆ คุณครูจะได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับนักเรียนแต่ละคนมากขึ้น แต่ถ้าคุณครูเจอนักเรียนที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยแสดงออก ลองปรับเป็นการใช้แอปพลิเคชัน Flipgrid / Explain Everything หรือ Seesaw ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา Formative Assessment โดยการให้นักเรียนอัดวิดีโอคลิปในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในหัวข้อที่เราอยากให้พวกเขาอภิปราย หรืออยากสัมภาษณ์ แล้วบันทึกคำตอบของตัวเอง เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน

 

  • 5. ePortfolios / Digital Portfolios เจ๋ง ๆ แสดงตัวตน

เป็นเครื่องมือประเมินนักเรียน ที่ถูกใจ และทันสมัยในยุคดิจิทัล เป็นวิธีการประเมินนักเรียนแบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้า และพัฒนาการของพวกเขา ด้วยการให้นักเรียนสร้างโปรไฟล์ส่วนตัวของตัวเองตามความถนัด หรือสิ่งที่พวกเขาสนใจ นอกจากเราจะรู้ความเป็นตัวตนของนักเรียนแต่ละคนแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทักษะการนำเสนอ สามารถนำไปปรับใช้สมัครงานในอนาคตได้

 

  • 6. ประเมินนักเรียน จากความเข้าใจผิด และข้อผิดพลาดของพวกเขา

บางครั้งการดูว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนมามากน้อยขนาดไหน อาจเรียนรู้ได้จากข้อผิดพลาด หรือความเข้าใจผิดของนักเรียนแต่ละคนได้ ซึ่งเมื่อไรที่นักเรียนทำผิดซ้ำ ๆ ซึ่งเกิดจาก... ความเข้าใจผิด : ให้คุณครูลองยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับโจทย์ที่นักเรียนสับสน เพื่อให้พวกเขาเห็นภาพมากขึ้นแล้วลองให้พวกเขาใช้ความรู้เดิมปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหา แล้วร่วมกันอภิปรายคำตอบร่วมกัน ข้อผิดพลาด : บางครั้งนักเรียนอาจไม่เข้าใจบทเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาค่อนข้างยาก หรือไม่สามารถอธิบายเป็นรูปธรรมได้ เช่น โจทย์คณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน เป็นต้น หากมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ นั่นหมายความว่านักเรียนอาจไม่เข้าใจเนื้อหาจริง ๆ หรืออาจเป็นที่การสอนของคุณครูเอง และอาจะนำการสอนเหล่านี้มาปรับทำความเข้าใจ ไม่ควรจี้หาเหตุผลว่าทำไมถึงทำผิด แต่ควรแนะนำเป็นการแก้ไข แนะนำให้ความเข้าใจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

 

  • 7. การทำโครงงาน

การประเมินนักเรียนในรูปแบบโครงงาน

 

อีกรูปแบบการประเมินนักเรียน ที่ทำให้เรารู้ว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เราสอนมากน้อยแค่ไหน คือนักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ซึ่งการทำโครงงาน หรือ Project Based Learning โดยที่นักเรียนสามารถสร้างโครงานได้หลากหลายรูปแบบตามความชอบ และความถนัดของพวกเขา ซึ่งบางโครงงานอาจจะใช้เวลาในการดำเนินการนานตั้งแต่ 1 ภาคเรียน หรือทั้งปีการศึกษา การประเมินนักเรียนในรูปแบบโครงงาน จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะหลายอย่าง เช่น การจัดระบบความคิด และการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน หรือถ้าเป็นการทำโครงงานเป็นกลุ่มร่วมกัน นักเรียนจะได้ฝึกทักษะการสื่อสารได้อีกด้วย เพราะการประเมินนักเรียนในรูปแบบเดิม ๆ อาจไม่ใช่การประเมินที่วัดผลการเรียนของนักเรียนได้ชัดเจน แต่การสร้างการประเมินนักเรียนที่หลากหลาย และเหมาะสม จะเป็นตัวช่วยให้คุณครูพัฒนา และปรับแก้ไขในสิ่งที่นักเรียนมีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

อีกรูปแบบการประเมินนักเรียน ที่ทำให้เรารู้ว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เราสอนมากน้อยแค่ไหน คือนักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ซึ่งการทำโครงงาน หรือ Project Based Learning โดยที่นักเรียนสามารถสร้างโครงานได้หลากหลายรูปแบบตามความชอบ และความถนัดของพวกเขา ซึ่งบางโครงงานอาจจะใช้เวลาในการดำเนินการนานตั้งแต่ 1 ภาคเรียน หรือทั้งปีการศึกษา การประเมินนักเรียนในรูปแบบโครงงาน จะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะหลายอย่าง เช่น การจัดระบบความคิด และการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน หรือถ้าเป็นการทำโครงงานเป็นกลุ่มร่วมกัน นักเรียนจะได้ฝึกทักษะการสื่อสารได้อีกด้วย เพราะการประเมินนักเรียนในรูปแบบเดิม ๆ อาจไม่ใช่การประเมินที่วัดผลการเรียนของนักเรียนได้ชัดเจน แต่การสร้างการประเมินนักเรียนที่หลากหลาย และเหมาะสม จะเป็นตัวช่วยให้คุณครูพัฒนา และปรับแก้ไขในสิ่งที่นักเรียนมีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ้างอิง:

 

Share

Relate article