สร้างนักคิด ในห้องเรียนกลับด้าน Flipped Classroom

Flipped Classroom

 

สร้างนักคิด  ในห้องเรียนกลับด้าน Flipped Classroom

 

  • ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) คือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบคล้ายกับการสอนออนไลน์ นักเรียนเรียนรู้บทเรียนจากวิดีโอการสอนและศึกษา คิด วิเคราะห์ ด้วยตนเองจากที่บ้าน ก่อนมาทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ในห้องเรียน
  • เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้การสอนในห้องเรียนกลับด้านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ที่คุณครูสามารถนำไปปรับใช้เพื่อช่วยให้มีเวลามากขึ้นในการเตรียมแผนการสอน วัดและประเมินผู้เรียน เพื่อพัฒนาทักษะและเอาใจใส่กับนักเรียนมากขึ้น

 

 

   ความท้าทายของคุณครูกับการเรียนการสอนในช่วงโควิคที่ผ่านมา เป็นข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทที่สำคัญและมีส่วนผลักดัน กระตุ้นให้การศึกษาของไทยมีระบบการเรียนการสอนที่ต่างไปจากเดิม คุณครูหลายท่านเริ่มที่จะคุ้นเคยกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยจัดการเรียนการสอน เรียนรู้เทคนิคในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานและวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยยังมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ช่วยปัจจุบัน

 

   เช่นเดียวกับ การสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง มีแนวการศึกษาที่น่าสนใจและนักวิชาการหลายท่านนำรูปแบบนี้มาใช้ในการเรียนการสอน มีรูปแบบที่ผสมผสานการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการสอนในห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ทำให้คุณครูมีเวลาพูดคุยและเอาใจใส่นักเรียนมากขึ้น แทนที่ในการใช้เวลาไปกับการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว ห้องเรียนกลับด้าน มีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ

 

 

Flipped Classroom อักษร

 

1. นักเรียนเรียนรู้และค้นคว้าด้วยตนเองผ่านวิดีโอการสอนแบบออนไลน์จากที่บ้าน สามารถพูดคุยกับนักเรียนคนอื่น หรือถามคำถามคุณครูผ่านระบบออนไลน์

2. เปลี่ยนบ้านเป็นห้องเรียนกิจกรรม นักเรียนและคุณครูมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน พูดคุย แสดงความคิดเห็น ทำงานกลุ่ม สอบถาม ทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ โดยคุณครูมีหน้าที่กำกับดูแลนักเรียน ตอบคำถาม และทำให้บทสนทนาหรือกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางที่วางแผนไว้

 

 

6 ขั้นตอนการสอนของห้องเรียนกลับด้าน   (Flipped Classroom)

 

ก่อนเริ่มการสอน

 

   ขั้นที่ 1 คุณครูออกแบบแผนการสอน กำหนดวัตถุประสงค์การสอน การเลือกใช้สื่อการสอน กิจกรรมเสริม ที่เหมาะสมกับวัยผู้เรียน กับห้องเรียน และบริบทของโรงเรียน

 

Flipped Classroom Aksorn on learn

   ขั้นที่ 2 เตรียมวิดีโอการสอน คุณครูอาจบันทึกการสอนของตัวเอง หรือใช้บริการจากวิดีโอการสอนที่มีเนื้อหาของบทเรียนครบตามตัวชี้วัด

 

 

Aksorn on learn

   ขั้นที่ 3 คุณครูแชร์วิดีโอการสอน ส่งให้กับนักเรียน และอธิบายว่าเนื้อหาในวิดีโอจะนำมาพูดคุยกันในห้องเรียน (ในขั้นตอนนี้คุณครูอาจสร้างกิจกรรม หรือแจกแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ลองทำก่อนการสอนในห้องเรียน)

 

 

การสอนในห้องเรียน อจท

   ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยน เพื่อสนับสนุนการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน คุณครูเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน และซักถาม จากเนื้อหาที่ได้ศึกษามาแล้วในวิดีโอ เพื่อให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสาร

 

 

แบ่งกลุ่มในห้องเรียน

   ขั้นที่ 5 แบ่งกลุ่ม  เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามที่วางแผนไว้ คุณครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันทำงาน ในหัวข้อที่ครูมอบหมาย หรือช่วยกันเลือกหัวข้อในการทำงานเพื่อให้เกิดทักษะการคิด สร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกัน

(ในระหว่างนี้คุณครูสามารถสังเกตเพื่อประเมินนักเรียนในระหว่างการนำเสนอ คุณครูอาจมอบหมายเป็นแบบฝึกหัด หรือใบงาน)

 

 

รวทกลุ่มเรียน อจท

   ขั้นที่ 6 รวมกลุ่มกันอีกครั้ง เพื่อนำเสนอผลงานกลุ่ม เปิดเวทีให้เพื่อน ๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และซักถาม

 

หลังจบการสอน 

   

     คุณครูทบทวนการเรียนการสอน แผนการสอนที่ออกแบบไว้ วิดีโอ และสื่อฯ ที่อยู่ในแผน ได้ผลสัมฤทธิ์หรือไม่ อย่างไร และเป็นการวัดและประเมินการสอนของคุณครูด้วยเช่นกัน 

      - ทบทวน แผนการสอนที่ออกแบบไป รวมถึงสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมการสอนว่าได้ผลสัมฤทธิ์หรือไม่ นักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยอย่างไร 
      -
ปรับแก้  หากนักเรียนหลายตนยังมีข้อสงสัย คุณครูควรปรับแก้เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากยิ่ง 
      -
ทำซ้ำ หากการเรียนการสอนในวันนั้นได้ผลดี คุณครูควรทำซ้ำ และเสริมกิจกรรมที่ท้าทายเพื่อให้นักเรียนได้ใช้ทักษะที่สูงขึ้น 

 

   หลังจากนี้ห้องเรียนของคุณครูจะเปลี่ยนไป บทบาทของคุณครูจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยให้คุณครูมีเวลาในการวางแผนและออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ การเลือกใช้สื่อฯ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ การวัดและการประเมินผลในรูปแบบที่เปลี่ยนไป พร้อมทั้งนักเรียนเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย จึงทำให้การสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนกับคุณครู และเพื่อนร่วมชั้นจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

   มาถึงตรงนี้ทำให้เราเข้าใจแล้วว่าเทคโนโลยีไม่ได้มาทำหน้าที่แทนคุณครู แต่เทคโนโลยีนั้นช่วยให้คุณครูได้ใช้เวลากับนักเรียนมากขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะของเด็กได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่น ๆ ได้ที่     >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่    >>> คลิก <<<

 

ขอขอบคุณข้อมูล  elearninginfographics.com
 

Share

Relate article