วิทยาศาสตร์ สะพานเชื่อมโลกจิตนาการสู่ศาสตร์แห่งอนาคต

วิทยาศาศตร์

สะพานเชื่อมโลกจินตนาการสู่ศาสตร์แห่งอนาคต

เพราะวิทยาศาสตร์หมุนรอบตัวเรา

โลกที่เชื่อมโยงทุกสิ่งไว้ด้วยเทคโนโลยีและถูกขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ ทำให้ผู้สร้างนวัตกรรมถูกท้าทายด้วยโจทย์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เด็ก ๆ ของเรา จะเตรียมรับมือกับสิ่งที่แม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเรายังไม่เคยเจอได้อย่างไร หากในวันนึงโลกผลักให้เขาต้องเปลี่ยนฐานะจากผู้ใช้เทคโนโลยีเป็นผู้สร้างเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์ กลายเป็นศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการก้าวสู่โลก แห่งอนาคต เราจะทำอย่างไรให้เด็กของเรารักและเข้าใจว่า แท้จริงแล้ว วิทยาศาสตร์อยู่รอบตัว พวกเขาอย่างใกล้ชิด เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับมนุษย์ทุกคน ทำให้เรารู้จักใช้เหตุผล เกิดความคิดอย่างเป็นระบบ จนพัฒนาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ หากเรามองย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้วเราอาจไม่เชื่อว่าวิทยาศาสตร์ทำให้โลกที่เคยอยู่ในจินตนาการของเรา กลายเป็นโลกของทุกวันนี้ได้ และนี่คือพลังของวิทยาศาสตร์ที่อักษรใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเรา

เชื่อมความรู้สู่ชีวิตจริง

วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จะช่วยสร้างเหตุผลให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีจุดหมาย เด็กๆ จะเข้าใจถึง ที่มาที่ไป และสามารถนำเอาองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้พร้อมกับต่อยอด ไปสู่สิ่งใหม่ๆ จนเกิดเป็นการบูรณาการศาสตร์จากหลากหลายแขนง และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอันจะนำพาไปสู่การพัฒนาประเทศได้

  • Engagement
  • Exploration
  • Explanation
  • Elaboration
  • Evaluation

กระบวนการเรียนรู้ผ่านการทดลองและลงมือปฏิบัติ

ความรู้ที่ได้จะไม่เกิดความคงทนถาวรเลยหากเรียนรู้จากการท่องจำ การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมการทดลองหลากหลายรูปแบบ เด็กๆ จะเรียนรู้ อย่างสนุกสนานและเข้าใจถึงกระบวนการของการได้มามากกว่าพุ่งเป้าไปที่คำตอบสุดท้าย มากไปกว่านั้นคือการที่เด็กจะได้ฝึกทักษะอื่นร่วมไปด้วย อาทิ ทักษะการสังเกต ในขณะที่เฝ้ารอดูผลของการเปลี่ยนแปลง การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง กับอีกสิ่งหนึ่ง
...
Engagement
สร้างความสงสัยให้น่าสนใจ..แล้วนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นนี้เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสร้างความสงสัย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากหาคำตอบจนเกิดเป็นการอภิปรายกันในกลุ่ม เรื่องราวที่น่าสนใจนั้นอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในกระแส หรืออาจเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงจากความรู้เดิมในบทเรียนที่ผ่านมาแล้ว โดยประเด็นเหล่านั้นต้องสามารถเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาถึงของเขต และรายละเอียดร่วมกันซึ่งอาจใช้ทั้งประสบการณ์จากความรู้เดิม หรือสืบค้น หาความรู้ใหม่จากแหล่งต่าง ๆ จนเกิดการอภิปรายและตั้งข้อสังเกต จากความสงสัยร่วมกัน
...
Exploration
สำรวจและค้นหา ศึกษาจากแหล่งต่าง ๆ ในขั้นนี้จะต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางในการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน และกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ เพื่อดำเนินการลงมือเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอาจ ทำได้หลากหลายวิธี อาทิ ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การจำลอง สถานการณ์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Simulation) หรือสืบค้นข้อมูลจาก แหล่งอ้างอิงต่าง ๆ
...
Explanation
อธิบายและลงข้อสรุป เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอในขั้นของการสำรวจและค้นหาแล้ว จึงนำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บรรยาย สรุปสร้างแบบจำลอง หรือภาพวาด การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง ซึ่งอาจสนับสนุนหรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ หรืออาจไม่เกี่ยวข้องกับประเด็น ที่ได้กำหนดไว้เลย แต่ไม่ว่าผลจะออกมาในรูปแบบใดก็สามารถสร้างความรู้ และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
...
Elaboration
ขยายความรู้เชื่อมไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม โดยอาจนำแบบจำลอง หรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งการเชื่อมโยง กับเรื่องราวต่าง ๆ นี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ที่กว้างขวางขึ้น
...
Evaluation
ประเมิน ประยุกต์ ประเด็น เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่าผู้เรียนได้รับองค์ความรู้ อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขึ้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไป ประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่ จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ จึงเรียกว่า Inquire Cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก หลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป
Share

Relate article