Blended Learning เรียนรู้แบบผสมผสานที่ครูไทยต้องให้ความสำคัญ

Blended Learning เรียนรู้แบบผสมผสานที่ครูไทยต้องให้ความสำคัญ

 

Blended Learning

 

 

การเรียนรู้ของเด็กในยุคใหม่ Blended Learning คือการเรียนการสอนที่ถูกพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วยระบบของการศึกษาที่ผันเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า การเรียนรู้แบบผสมผสานจึงเป็นสูตรใหม่ของการเรียนการสอนที่ถูกพัฒนาให้เราได้นำมาประยุกต์ใช้ สิ่งใดที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ สิ่งนั้นย่อมพัฒนาการสอนของครูเช่นกัน

 

 

Blended Learning กับโลกปัจจุบัน

          ในแวดวงการศึกษาของโลกได้นำ Blended Learning มาใช้สอนสักระยะแล้วด้วยผลวิจัยจากหลายแห่งในสหรัฐอเมริกาเช่นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมหาวิทยาลัยโคลัมเบียต่างมีการศึกษาวิจัยBlended Learning พบว่าเด็กมีพัฒนาการและมีประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่ดีขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านห้องเรียน(on site) ผสมผสานกับการเรียนแบบออนไลน์(online) โดยผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงทั้งจากการทำงานเดี่ยวและเป็นกลุ่มเปิดโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพิ่มทักษะการคิดและได้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้รวมถึงความกล้าในการซักถามและช่วยสร้างบรรยากาศเพื่อลดความวิตกกังวลในขณะที่เรียนได้Blended Learning จึงถูกนำมาปรับใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ในยุคสมัยนี้

 

Blended Learning อักษร

 

 

ทำไมครูไทยต้องให้ความสำคัญ กับ Blended Learning
          เพราะผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ที่เป็นตัวเร่งให้ระบบการศึกษาของโลกต้องเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ทุกประเทศทุกสถาบันมีการรับมือและปรับกลยุทธ์เพื่อแก้ปัญหาและเติมเต็มทักษะที่ขาดหายไป เช่น 

  1. สหรัฐอเมริกาจัดทำโครงการติวพิเศษหลังเลิกเรียน (after-school programs) โดยเน้นฟื้นฟูทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การคิดคำนวณ และวิชาการด้านอื่น ๆ ชี้ผลวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้นักเรียนแบบเรียลไทม์ 
  2. รัฐบาลอินเดียจัดสรรให้มีการเรียนทางไกลในช่วงโควิด จัดทำโครงการ “HOPE Buses” ห้องเรียนเคลื่อนที่ ให้การศึกษากับเด็กยากจนที่ขาดแคลนอุปกรณ์และทุนทรัพย์ 
  3. นิวซีแลนด์จัดอบรมครูมากกว่า 4,000 คนทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมสอนหลักสูตรใหม่ ชื่อว่า Better Start Literacy Approach เป็นหลักการสอนโดยใช้ “การรับรู้ทางเสียง” (Phonological Awareness) ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้ของเด็กนักเรียน

ผลสำรวจของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Blended Learning
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้มองเห็นถึงความสำคัญการเรียนรู้ของเด็กและการสำรวจผลการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ว่าจะได้รับการเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ได้ต่างกันอย่างไร เมื่อคิดเปอร์เซ็นต์ดังนี้

  • การเรียนในห้องเรียน (Lecture) จดจำได้เพียง 5% 
  • การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) จดจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10% 
  • การฟังและได้เห็น (Audiovisual) จดจำได้ 20% 
  • การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) จดจำได้ 30% 
  • การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) จดจำได้ถึง 50% 
  • การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จดจำได้ดีถึง 75% 
  • การได้สอนผู้อื่น (Teaching) จดจำได้มากถึง 90%

          หากเราดูจากเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละรูปแบบการสอนจะพบได้ว่า การเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร เด็กไม่สามารถเรียนในรูปแบบเดียวได้ต้องอาศัยการเรียนรู้นอกห้องเรียนและใช้สื่อดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมการเรียนรู้ให้กว้างขึ้น 

          การเรียนรู้แบบผสมผสานช่วยตอบโจทย์สถานการณ์บนโลกการศึกษาได้เป็นอย่างดี มีสื่อดิจิทัลมากมายที่ออกแบบมาเพื่อให้ครูสามารถนำไปออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อนำมาใช้กับการสอนแบบผสมผสานนี้ เช่น 

  1. คลิปการสอนมาช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ในห้องเรียน (on site) หรือจะเปิดให้เด็กได้ดูในระหว่างการสอนออนไลน์ 
  2. สื่อมัลติมีเดียที่ช่วยสร้างสีสันจัดเป็นกิจกรรมในห้องเรียนที่ใช้ได้ทั้งแบบ (on site) และ (online) ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน
  3. e-Book สื่อดิจิทัลที่ครูไม่ควรพลาดเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาก่อนเข้าบทเรียนหรือนำไปทบทวนศึกษาด้วยตนเอง
  4. แหล่งเรียนรู้จาก Website ที่เปิดโอกาสให้ลงมือปฏิบัติและค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง

 

การเรียนผสมผสาน

 

Blended Learning สอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะ
          เด็กยุคใหม่ที่โตมากับเทคโนโลยีพร้อมท่องโลกแบบไร้ขีดจำกัด ห้องเรียนแบบ Blended Learning เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการเรียนรู้ที่เอื้อให้เกิดสมรรถนะได้เช่นกัน เพราะครูทำหน้าที่วางเป้าหมายและออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสม เปิดโอกาสให้ลงมือทำ คิด วางแผน แก้ปัญหา และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

          เราและเด็กต่างต้องการการเรียนรู้ตลอดเวลา ส่วนผสมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ต้องการความพอดีไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความเหมาะสมช่วงเวลานั้น ๆ แนวทางของการปรับแผนการสอนปรับกลยุทธ์ทางการศึกษายังคงจำเป็นสำหรับเด็กในปัจจุบันที่ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ของโลกที่ผันผวนตลอดเวลา แค่รับมือและนำสื่อการสอนมาปรับใช้เพื่อให้ตอบสนองเป้าหมายการเรียนรู้

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

Share

Relate article