8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการศึกษา ที่ครูไทยต้องใช้สอนในยุคดิจิทัล
8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการศึกษา ที่ครูไทยต้องใช้สอนในยุคดิจิทัล
การศึกษาไทยในยุคดิจิทัลเป็นการเรียนการสอนที่ครูต้องสามารถรับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้เด็กไทยได้รับการพัฒนาครบทุกทักษะที่เด็กต้องใช้ในโลกอนาคตได้ 8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการศึกษายุคดิจิทัล ที่ครูต้องมีติดตัวเป็นอาวุธลับในการสอน จะมีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
Covic-19กับการศึกษาไทยในยุคดิจิทัล
Covid-19 เร่งปฏิกิริยาให้การศึกษาก้าวเข้าสู่การศึกษายุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว 2-3 ปีมานี้เลยปรากฏสิ่งต่าง ๆ ให้เราเห็นมากมาย ทั้ง AR VR 5G Application ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง Influencer AI ก็มีให้เห็นกันมาแล้ว ส่งผลทั้งต่อตัวผู้เรียน คุณครู และโรงเรียน ที่ต้องก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องไม่ลืมรักษาสมดุลของการศึกษาที่ต้องสอนตามบริบทที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และถึงแม้ว่ายุคดิจิทัลนี้ จะทำให้การศึกษาบ้านเราเป็นโลกแบบไร้ขีดจำกัด แต่ต้องไม่ลืมที่จะให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การใช้สื่อฯ ที่ถูกต้องด้วย ครูเองก็จะต้องแปลงร่างเป็น e-Teacher คือ ต้องมีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ มีทักษะการสื่อสารที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ หรือขยายองค์ความรู้ไปสู่เด็ก ๆ ได้
วันนี้มาดู 8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการศึกษาในยุคดิจิทัล
ที่ครูต้องมีติดตัวเป็นอาวุธลับในการสอนกัน
1. สอนเรื่องพัฒนาการเด็ก
เป็นเรื่องการศึกษาของเด็กเล็ก แต่เป็นพื้นฐานที่เราต้องให้ความสำคัญมากที่สุด นั่นคือพัฒนาการของเด็ก แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา พัฒนาการของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันไป บางคนอาจมีพัฒนาการที่เร็วบ้าง ช้าบ้าง เด็กที่มีพัฒนาการช้าอาจจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวพวกเขา รวมถึงการส่งเสริมจากครอบครัว หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอย่างถูกวิธีด้วย นอกจากนั้นพัฒนาการที่ดีต้องใช้สื่อที่เหมาะสมกับวัย เพื่อช่วยให้พวกเขามีพัฒนาการครบ 4 ด้านอย่างสมวัย อาทิ
1.1. พัฒนาการด้านร่างกาย และสติปัญญา แบ่งเป็นภาพใหญ่ ๆ คือ
▪ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว (Gross Motor) การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น การเดิน ยืน วิ่ง กระโดด เคลื่อนไหวร่างกายในท่าต่าง ๆ การทรงตัว
▪ พัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา (Fine Motor) เช่น หยิบจับสิ่งของ ตัดกระดาษ แยกรูปทรง ประกอบชิ้นส่วน วาดเขียนตามแบบได้
ซึ่งเกณฑ์ของ DSPM ได้จัดให้สื่อประเภท บล็อกไม้ เครื่องเคาะจังหวะ ตุ๊กตา ดินสอ หรือกระดาษ สามารถช่วยในเรื่องพัฒนาการด้านร่างกาย และสติปัญญาได้ โดยคุณครูอาจจะหากิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ และสามารถให้เด็กลงมือทำจริงแบบ Active learning เพื่อให้เด็กได้สมรรถนะตามวัยของพวกเขา
ตัวช่วยให้เด็กทำกิจกรรม
2. เทคโนโลยียุคดิจิทัล
สมัยก่อนเวลาเราสอนวิชาที่ต้องเรียนรู้จากของจริงถึงจะเข้าใจ เช่น สอนอวัยวะภายในร่างกาย เราต้องใช้ภาพโปสเตอร์ หรือไม่ก็จากหุ่น เด็กต้องใช้จินตนาการเพื่อทำความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ แต่ในยุคที่มีสื่อดิจิทัลที่ไม่มีอะไรสามารถกีดขวางการเรียนการสอนได้ เพียงแค่เปิดคลิป หรือสแกน Interactive3D ก็สามารถสอนให้เด็กเห็นในสิ่งที่ยากจะอธิบาย และเข้าถึงได้ ซึ่งการดึงสื่อยุคใหม่มาใช้ในบริบทการสอนแบบไทย จำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมของเด็กยุคใหม่ให้ดีก่อน ดูว่าพวกเขาต้องการอะไรในการเรียนรู้รวมถึงความพร้อมของผู้เรียนเองด้วย แล้วนำกลับมาวิเคราะห์ดูว่าเราสามารถประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร จากนั้นเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดมาใช้เป็นสื่อในการสอน และในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดตามผลว่าสื่อเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่อเด็กมากแค่ไหน และแก้ไขให้ดีขึ้น ก็จะช่วยให้การสอนมีคุณภาพ เด็ก ๆ ก็จะได้รับประโยชน์เต็มที่
เทคโนโลยีดิจิทัลจากอักษรที่ช่วยคุณได้
3.เครื่องมือครู
เครื่องมือครูที่ช่วยเสริมการสอนให้เจ๋งที่สุดในตอนนี้คงหนี้ไม่พ้น สื่อประกอบการสอน นอกจากเด็กจะเรียนทันเกม รู้ทันโลกแล้วเจ้าสื่อประกอบการสอนเหล่านี้ยังช่วยลดความเหนื่อยของครูอีกด้วย เพราะครูแค่วางแผนการสอนให้ตรงใจแล้วเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับการสอนในคาบนั้น ๆ
สื่อประกอบการสอนในยุคดิจิทัลนอกจาก แผนฯ คู่มือครูแล้ว ปัจจุบันนี้ยังมี PowerPoint ใบงานที่สามารถคลิกและสแกนแล้วสามารถมีเสียง เล่นได้ เคลื่อนไหวได้ก็มี ฯลฯ ซึ่งก่อนที่จะนำเครื่องมือแต่ละอย่างไปใช้ควรศึกษาลักษณะ และคุณสมบัติของเครื่องมือนั้น ๆ แล้วนำไปใช้ให้เหมาะสม และถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้คุณครูสอนได้ง่ายขึ้น และช่วยลดภาระในการเตรียมการสอนได้ดีขึ้นแล้ว เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้เร็วขึ้น และได้ทักษะที่ครบถ้วนอีกด้วย
ดาวน์โหลดสื่อประกอบการสอนฟรี คลิก : www.aksorn.com/download
4. ผู้ปกครองหรือครอบครัว
ครอบครัว คือ ครูคนแรกของเด็กที่สอนทักษะ และพื้นฐานก่อนที่พวกเขาจะเข้าโรงเรียน เมื่อเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาแล้วการเรียนรู้จะต้องเชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษา และครอบครัวได้ เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กต่อเนื่อง ทำให้การเรียนรู้มีความหมาย และสามารถเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริงได้
5. สอนให้เข้าใจสถานการณ์ในปัจจุบัน
การศึกษาสำหรับเด็กยุคใหม่จำเป็นต้องให้พวกเขาเรียนรู้เหตุการณ์ปัจจุบัน รู้เท่าทันปัญหาในสังคม มีทักษะที่พร้อมรับมือกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสอนให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหาเป็น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ซึ่งครูอย่างเราอาจต้องมีข้อมูลที่มากพอ พยายามสอดแทรกความรู้ และหาแนวทางในการแก้ปัญหา อาจจะมาในรูปแบบกิจกรรมเพื่อให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้ หรือการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ ชวนรู้ ชวนสงสัย และสนุกกับการหาคำตอบ เช่น การตั้งคำถาม หรือการเรียนด้วยการแก้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-base Learning) เป็นต้น
6. การบูรณาการกิจกรรม หรือการศึกษาต่าง ๆ
การเชื่อมโยงความรู้ในหลายศาสตร์เข้ามาไว้รวมกันเป็นอีกหนึ่งทักษะที่การศึกษาไทย และคุณครูจำเป็นต้องมีเช่น เมื่อต้องสอนวิทยาศาสตร์ เราควรนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม หรือที่เรารู้กันว่าเป็นการเรียนแบบ STEM ศึกษา และการนำเอาการเรียนแบบ STEM มาใช้ร่วมกับศิลปะช่วยเสริมเรื่องความคิดสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ ความสุขในการเรียนรู้ สู่การเติบโตอย่างสมดุล หรือที่เรียกกันว่า STEAM ศาสตร์บูรณาการเหล่านี้จะเพิ่มทักษะการคิดอย่างเป็นขั้นตอน หรือรู้จักแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
7. สอนให้เด็กรู้จักอารมณ์ของตัวเอง
เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า การที่จะให้เด็กยุคใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี จำเป็นต้องสอนให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางอารมณ์ และสังคม การร่วมมือ การสื่อสาร และการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และเป็นทักษะสำคัญสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต
8. การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
ทำไมเราต้องหันมาสนใจเรื่องจัดการศึกษาพิเศษ เพราะมีเด็กไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-2 มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ตามวัย กว่า 70,000 คน และอาจจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการแก้ไข และดูแลที่มากพอ สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ การจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้เฉพาะบุคคล รวมทั้งจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหา เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ อย่างเต็มศักยภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก
บทความที่เกี่ยวข้อง