สร้างห้องเรียนด้วยอารมณ์ขัน
สร้างห้องเรียนด้วยอารมณ์ขัน
ผู้เขียนเคยสำรวจความต้องการครูคณิตศาสตร์ของเด็กประถมศึกษาระดับป. 3 และ ป.6 พบว่านักเรียนร้อยละ 80 % ต้องการครูคณิตศาสตร์ที่สอนเข้าใจง่ายและสอนสนุก
การสำรวจเด็กเก่งที่สอบชิงทุนคณิตศาสตร์โอลิมปิกจาก 73 จังหวัดและสำรวจเด็กเก่งที่สอบแข่งขันของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระราชนูปถัมภ์พบว่า 75 % ชอบครูคณิตศาสตร์ที่สอนสนุก
และจากการสำรวจของดุสิตโพลเกี่ยวกับครูในดวงใจศิษย์ปี2543 พบว่าเด็กชอบครูที่สอนสนุกเป็นอันดับ 3
จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนพบว่า 9 ใน 10 คนเห็นว่าครูคณิตศาสตร์ดุ เคร่ง เครียด
ครูหลายคนพยายามนำ เกม นำ เพลงมาประกอบการสอนให้สนุก บางคนเป็นนักเล่านิทาน ครูคณิตศาสตร์อาจลืมสิ่งหนึ่งที่อาจมีหรือสร้างขึ้นได้ในตัวครูได้ ก็คือ อารมณ์ขันหลายคนที่เห็นความสำคัญของอารมณ์ขันเชื่อว่า “อารมณ์จะช่วยขยายขีดความสามารถทั้งด้านการสอนของครูและด้านการเรียนของนักเรียนให้เรียนรู้แจ้งยิ่งขึ้นกว่าปกติ” จากการศึกษาเรื่องการปรุงรสด้วยอารมณ์ขัน ซึ่งเรียบเรียงโดย รศ.ดร.หทัย ตันหยงพบว่าปลายศตวรรษที่ 20 มีความเคลื่อนไหวในการศึกษาด้านอารมณ์ขันกับการสอนได้มี การประชุมสัมมนาอาจารย์ในสหรัฐที่ West La Fayett Indiana ถึง 3 ครั้ง มีการสรุปแนวคิดเกี่ยวกับอารมณ์ขันเป็นโลกทรรศน์ไว้ดังนี้
โลกทรรศน์ที่ 1 อารมณ์ขันทำให้ชีวิตในห้องเรียนมีสุข ยิ้มย่องผ่องใส ทำให้การสอนเป็นไปอย่างราบรื่น และเกิดภาวะการเรียนรู้แจ้งได้โดยง่าย
โลกทรรศน์ที่ 2 อารมณ์ทำ ให้ประตูใจของผู้สอนและผู้เรียนเปิดกว้างเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
โลกทรรศน์ที่ 3 อารมณ์ขันปลุกจิตสำ นึกของทุกคนในห้องเรียนให้เห็นคุณค่าของการทำ งานร่วมกันอย่างมีความสุข
โลกทรรศน์ที่ 4 อารมณ์ขันเป็นนิมิตรหมายของความจริงใจที่จะมองเห็นความเสมอกันของเพื่อนมนุษย์ในห้องเรียน โดยปราศจากความเหลื่อมลํ้า ความมีปมด้อยความได้เปรียบเสียเปรียบกันและกัน
โลกทรรศน์ที่ 5 อารมณ์ขันสร้างสรรค์บรรยากาศของความอบอุ่น ความรักความเมตตาซึ่งกันและกันที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน
โลกทรรศน์ที่ 6 อารมณ์ขันช่วยพัฒนาบุคลิกภาพทั้งด้านผู้สอนและผู้เรียนให้เกิดความเชื่อมั่นโดยปราศจากความกลัว ความขัดแย้ง และความเคอะเขิน
โลกทรรศน์ที่ 7 อารมณ์ขันช่วยเพิ่มขีดความสนใจความตั้งใจ กระตุ้นให้กระตือรือร้นในการสอน และอารมณ์ขันก็เป็นตัวยาทำ ลายเชื้อโรคความเหนื่อยหน่ายขจัดอุปสรรคในการทำ งานให้เบาบางหมดสิ้นไป
โลกทรรศน์ที่ 8 อารมณ์ขันช่วยสร้างสภาพการประจักษ์ตน (Self – actualization)ให้แก่ผู้เรียนซึ่งเป็นหนทางให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเอง พึ่งตนเองทำ ด้วยตนเอง แก้ปัญหาของตนเองได้
โลกทรรศน์ที่ 9 อารมณ์ขันช่วยสร้างแรงกระตุ้นที่ทำ ให้จิตสำ นึกของผู้เรียนตื่นตัวขจัดนิวรณ์ความง่วงเหงาหาวนอนให้หมดไป สามารถควบคุมตัวเองให้มีสมาธิตั้งจิตมั่นในการทำ งานทุกประเภท
โลกทรรศน์ที่ 10 อารมณ์ขันเป็นนิมิตรหมายของเสรีภาพ สรรสร้างความรู้สึกของผู้เรียนปลอดโปร่งโล่งใจ ผ่อนคลายเสมือนได้ปลดปล่อยตนเองจากเครื่องพันธนาการไปสู่ความมีอิสระเสรี
โลกทรรศน์ที่ 11 อารมณ์ขันช่วยคลี่คลายสถานการณ์ทุกกาลเทศะ เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนตั้งสติคุมสติ พิจารณาตนเอง ไตร่ตรองเหตุผล ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสถานการณ์แวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
โลกทรรศน์ที่ 12 อารมณ์ขันเป็นเหมือนโอสถสวิเศษที่นายแพทย์เยียวยาอาการทรุดโทรมทั้งทางร่างกายและจิตใจให้ผู้สอนและผู้เรียนกลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติโดยปราศจากอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ
โลกทรรศน์ที่ 13 อารมณ์ขันสร้างความรู้สึกร่วมสมัยผสมผสานกลมกลืน อดีต –ปัจจุบันอนาคต ขจัดช่องว่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี ทำ ให้มนุษย์ยังอยากอยู่ร่วมกัน
โลกทรรศน์ต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้จะช่วยปลุกจิตสำ นึกให้ครูผู้สอนเกิดแนวคิดใหม่ ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและคิดได้อย่างสนุกสนาน
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
- https://kanchit004.wordpress.com
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
บทความที่เกี่ยวข้อง