เรามีเด็กอ่อนคณิตศาสตร์อยู่ครึ่งประเทศ!!! (ตอนที่ 1/2)
เรามีเด็กอ่อนคณิตศาสตร์อยู่ครึ่งประเทศ!!! (ตอนที่ 1/2)
เราต้องทำอะไรก่อน
(1) สร้างเด็กเก่ง หรือ
(2) กำจัดเด็กอ่อน
ทุกวันนี้มีการพูดคุยกันมากว่าเราควรจะทำโน้นทำนี้หลายอย่างเพื่อพัฒนาการศึกษา แล้วเราควรทำอะไรก่อน ผมจึงขอแบ่งปันกรอบความคิดในการวาง priorities อิงจากงานวิจัยของ OECD ดังนี้ครับ
ปฏิรูปการศึกษา เราจะเน้นสร้าง
(1) สร้างเด็กเก่ง หรือ
(2) กำจัดเด็กอ่อนออกจากระบบ
สองเรื่องนี้อาจฟังดูคล้ายๆกัน แต่นำไปสู่การคิดวางแผน และ การลงมือทำ ที่แตกต่างกันอย่างมาก
จากเด็กไทยอายุ 15 ปี ทั้งหมด ~800,000 คน
เป็นเด็กอ่อนด้านคณิตศาสตร์ ~400,000 คน (~1/2) ***เด็กครึ่งประเทศอ่อนคณิตศาสตร์!!!***
เป็นเด็กอ่อนด้านการอ่าน ~250,000 คน (~1/3)
เป็นเด็กอ่อนด้านวิทยาศาสตร์ ~250,000 คน (~1/3)
การลด/กำจัดนักเรียนอ่อน Low Performers ออกจากระบบ เป็นวิธีที่มีประสิทธิผลในการยกระดับการศึกษาของประเทศมีหลายประเทศทั่วโลก เช่น บราซิล เยอรมันนี อิตาลี เม็กซิโก โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย ที่ยกระดับการศึกษาได้สำเร็จ (วัดจากการพัฒนาระดับค่าเฉลี่ยผลการสอบ PISA คณิตศาสตร์จากปี 2003 และ 2012) โดยการให้ความสำคัญกับการลดนักเรียนอ่อน Low Performers ออกจากระบบ
ในตอนต่อไปผมจะมาเล่าต่อว่า OECD พูดเรื่องการกำจัด Low Performers ว่าต้องทำอะไรบ้าง
หมายเหตุ: อ้างอิงข้อมูลจาก
OECD, PISA Low-Performing Students (2016), pp. 43-45, Figure 1.5
* OECD PISA ให้นิยาม Low Performers ว่าเป็นนักเรียนที่ได้คะแนน PISA คณิตศาสตร์ไม่ถึง 420 คะแนน / การอ่านไม่ถึง 407 คะแนน / วิทยาศาสตร์ไม่ถึง 410 คะแนน ซึ่งเป็นระดับคะแนนขั้นต่ำที่เด็กจะสามารถเข้าปฏิสัมพันธ์กับสังคมได้อย่างเต็มที่ ใครสนใจรายละเอียดอ่านต่อได้ในรายงาน OECD, PISA Low-Performing Students หน้า 37
^ หากเอาตัวเลขเป๊ะๆ คือ เด็กไทยอายุ 15 ปี ทั้งหมด ~784,897 คน / อ่อนคณิตศาสตร์ ~390,387 คน / อ่อนการอ่าน ~258,776 คน / อ่อนวิทยาศาสตร์ ~263,724 คน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีบทความที่เกี่ยวข้อง