วิทยาการคำนวณ เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้สร้าง นวัตกรรม
วิทยาการคำนวณ เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้สร้าง นวัตกรรม
เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้ "สร้าง" นวัตกรรม
สร้างทักษะแห่งโลกอนาคตใหม่ พื้นฐานสำคัญในการสร้างทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมวิทยาการคำนวณ ให้ผู้เรียนสามารถคิด อย่างมีวิจารณญาณ แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง
- การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
- ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย (Media and information literacy)
เด็กไทยวันนี้ได้ก้าวเข้าสู่ยุค
วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จะช่วยสร้างเหตุผลให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีจุดหมาย เด็กๆ จะเข้าใจถึง ที่มาที่ไป และสามารถนำเอาองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้พร้อมกับต่อยอด ไปสู่สิ่งใหม่ๆ จนเกิดเป็นการบูรณาการศาสตร์จากหลากหลายแขนง และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอันจะนำพาไปสู่การพัฒนาประเทศได้
การคิดเชิงคำนวณ
การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) กระบวนการในการแก้ปัญหา ในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้นทีละตอน หรือที่เรียกว่าอัลกอริทึ่ม รวมถึงการย่อยปัญหาที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อน หรือมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดได้ วิธีคิดเชิงคำนวณมีความจำเป็น ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ แต่ในขณะเดียวกัน วิธีคิดนี้ยังช่วยแก้ปัญหาในวิชาต่างๆ ได้ด้วย ดังนั้นเอง เมื่อมีการบูรณาการ วิธีิคิดเชิงคำนวณผ่านหลักสูตรในหลากหลายแขนงวิชา นักเรียนจะเห็น ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละวิชา รวมทั้งสามารถนำวิธีคิดที่เป็นประโยชน์นี้ ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ในระยะยาว
• Computational Thinking •
ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) หมายถึง ทักษะความเข้าใจและการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร ปฏิบัติงาน หรือเพื่อพัฒนากระบวนการ ระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัย เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
• Digital Technology •
การใช้ (Use)
เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูลและการประมวลผล
การประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply)
การประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา
การสร้างสรรค์ (Create)
ทักษะในการผลิตหรือสร้างผลงานผ่านเทคโนโลยีสื่อสารโดยใช้ความหลากหลาย
ของสื่อดิจิทัล
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (media and information literacy) หมายถึง ความสามารถของแต่ละบุคคลในการเข้าถึง เข้าใจ ตีความ ประเมิน และสร้างข้อมูล และสื่อในรูปแบบที่หลากหลายด้วยความตระหนักถึง ผลกระทบของข้อมูลและสื่อต่าง ๆ ดังกล่าว โดยไม่ถูกครอบงำและสามารถ ใช้สื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการ ดำรงชีวิตของทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม
• Media and information literacy •
ความตระหนักใน
อิทธิพลของสื่อ
Media Effect Awarenessการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ
Critical Thinkingการรู้เท่าทัน
ตนเอง
Self Awarenessบทความที่เกี่ยวข้อง