อย่าเพิ่งตกใจ! หนูแค่มีเพื่อนในจินตนาการ
อย่าเพิ่งตกใจ! หนูแค่มีเพื่อนในจินตนาการ
ผลการศึกษาพบว่าเด็กที่มีอายุ 3-6 ปี ร้อยละ 37 จะเขยิบจากการใช้จินตนาการที่มีต่อของเล่นทั่วไป สู่การมี "เพื่อนในจินตนาการ" ที่ไม่มีตัวตนจริง เมื่อครูเจอเหตุการณ์แบบนี้ ให้ลองสังเกตพฤติกรรม
อย่าเพิ่งตกใจเมื่อเด็ก ๆ ของครู ชอบพูดคนเดียว หัวเราะเอิ๊กอ๊ากกับของเล่นเพียงลำพัง!
ผลการศึกษาพบว่าเด็กที่มีอายุ 3-6 ปี ร้อยละ 37 จะเขยิบจากการใช้จินตนาการที่มีต่อของเล่นทั่วไป สู่การมี "เพื่อนในจินตนาการ" ที่ไม่มีตัวตนจริง
ทำไมเด็กถึงต้องมีเพื่อนในจินตนาการ ที่เด็ก ๆ มีเพื่อนในจินตนาการนั้น เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น
- พ่อแม่ทำแต่งาน ไม่มีเวลาให้ เลยอยากเรียกร้องความสนใจ
- ไม่มีเพื่อนที่โรงเรียน หรือโดนเพื่อนแกล้ง
- พ่อแม่มีน้องคนใหม่ และเอาใจใส่น้องมากกว่าตนเอง หรือเด็กบางคนกำลังหาวิธีจัดการความรู้สึกยาก ๆ ที่เข้ามาในชีวิตของพวกเขาอยู่ ด้วยความไม่มีประสบการณ์มากพอที่จะแก้ไขปัญหา เด็ก ๆ จึงเลือกวิธีสร้างเพื่อนในจินตนาการขึ้นมา เพื่อพูดคุยหรือระบายความรู้สึกข้างใน นั่นเพราะเด็กกำลังสร้างกลไกป้องกันตนเองจากสถานการณ์อึดอัดและต้องการหาทางระบายออกมา
จุดสังเกต เด็กที่มีเพื่อนในจินตนาการ ที่ครูต้องดูแลเป็นพิเศษ?
ความจริงแล้วเพื่อนในจินตนาการของเด็ก ๆ ไม่ได้น่ากังวลอย่างที่คิด เพราะหากเด็ก ๆ เริ่มมีเพื่อนในจินตนาการ นั่นก็หมายถึงเด็กเริ่มสร้างพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาในการสื่อสาร เริ่มรู้จักหาพื้นที่ปลอดภัยเพื่อตัวเอง แถมยังเป็นการฝึกการเล่นบทบาทสมมติ และยังสร้างมุมมองที่ดีในการเข้าใจอารมณ์ผู้อื่นอีกด้วย
แต่ถ้าเด็ก ๆ ของครู มีพฤติกรรมบางอย่าง
เช่น เมื่อเด็กทำผิดแล้วโทษว่าเป็นฝีมือเพื่อนในจินตนาการ หรือที่ต้องทำแบบนี้เพราะเพื่อนในจินตนาการบอกให้ทำ หรือเมื่อเด็กบางคนรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ หรือผู้ปกครองไม่เข้าใจ บังคับให้ทำนั่นนี่ที่ตนไม่ชอบ เด็ก ๆ จะเริ่มสร้างพ่อแม่ในจินตนาการที่แตกต่างจากชีวิตจริงขึ้นมา เพื่อสนองในสิ่งที่เขาอยากทำและอยากพูด
สิ่งที่คุณครูต้องทำคือ
- อย่าเพิ่งลงโทษหรือต่อว่าเด็ก แต่ควรใช้การอธิบาย
- ช่วยกันแก้ไขความผิดพลาดนั้นไปด้วยกัน เพราะหากยิ่งไปดุ ก็เหมือนยิ่งผลักให้เด็กเข้าใกล้เพื่อนในจินตนาการมากขึ้นไปอีก
- รับฟังและเอาใจใส่ วิธีนี้จะช่วยดึงให้เด็กรู้สึกมีที่พึ่งพิง
- หมั่นสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด คอยเข้าไปพูดคุยและทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง
เพื่อนในจินตนาการจะอยู่กับเด็ก ๆ ไม่นาน ฉะนั้นคุณครูและผู้ปกครองจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยดูแล ถามไถ่ ยิ่งถ้าทำให้เด็กรู้สึกว่ามีครูเป็นเพื่อนสนิทได้มากเท่าไร อาการอึดอัดใจก็จะหายไปได้เร็วขึ้น
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่น ๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<
ขอบพระคุณข้อมูลบางส่วนจาก www.islammore.com และ th.theasianparent.com
บทความที่เกี่ยวข้อง