สรุปให้รู้ตามทันโลก อนาคตการศึกษา ep.28 เกิดอะไรขึ้นบ้างใน TCAS67 ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทยหรือพาเด็กออกนอกประเทศ

 

 

สรุปให้รู้ตามทันโลก อนาคตการศึกษา ep.28 เกิดอะไรขึ้นบ้างใน TCAS67 ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทยหรือพาเด็กออกนอกประเทศ

 

 

 


                 

 

 

 

สรุปให้รู้ตามทันโลก อนาคตการศึกษา

   เกิดอะไรขึ้นบ้างใน TCAS67

ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทยหรือพาเด็กออกนอกประเทศ

 

                      เกิดอะไรขึ้นบ้างใน TCAS67 ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทยหรือพาเด็กออกนอกประเทศ

 

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กทั่วประเทศกลับมาอีกครั้ง การสอบ TCAS67 ครั้งนี้เด็กไทยยังเจออุปสรรคไม่เปลี่ยนแม้ว่าจะแก้ระบบ TCAS67 มีการเปลี่ยนผู้ออกข้อสอบ[1] แต่ก็ยังพบว่าโจทย์วิชาฟิสิกส์มีโจทย์ปัญหาที่กำกวม วิชาคณิตศาสตร์มีการออกข้อสอบเกินหลักสูตรและมีการตรวจข้อสอบตกหล่นทำให้คะแนนหายไปถึง 3 คะแนน ดูเหมือนจะน้อยแต่เป็นคะแนนที่พลิกและคว่ำชีวิตการเข้ามหาวิทยาลัยของเด็กหลายคนเลยทีเดียว นอกจากนี้การสอบเข้ามหาวิทยาลัยยังมีค่าใช้จ่ายในการสอบหลายส่วนที่เหล่านักเรียนต้องแบกรับอีกด้วย

 

การสอบรูปแบบ TCAS มีมามากกว่า 7 ปี และมีการพัฒนาระบบไปเรื่อย ๆ ซึ่งดีขึ้นในหลาย ๆ อย่างแต่เด็กไทยยังคงอยู่บนความไม่แน่นอนอยู่ตลอด ที่พูดมาไม่ได้เพื่อตีแผ่การทำงานของทปอ. แต่กำลังมองลงไปให้ลึกถึงปัญหาของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่เด็กไทยต้องเจอจนนำไปสู่การสมองไหลของเด็กรุ่นใหม่ในอนาคตข้างหน้าหากระบบการสอบยังไม่นิ่ง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยยังคงเสี่ยงสูงอาจมีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาและภาวะสมองไหลออกนอกประเทศเพิ่มขึ้น

 

 

   เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาอย่างไร?

            หากผู้ถึงเรื่องการหลุดออกจากระบบการศึกษาทุกคนคงมองภาพของสถิติความยากจนมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเด็กกว่า 1.8 ล้านคน[2] เป็นเด็กยากจนที่ถูกประเมินว่าอาจจะหลุดออกจากระบบการศึกษาได้ในปี 2566 แม้ว่าการหลุดออกจากระบบการศึกษาจะเป็นเรื่องของความยากจนเป็นหลักแต่นอกจากเรื่องนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะสมองไหลได้ เช่น ตัวอย่างเหตุการณ์ของการตรวจข้อสอบที่ตกหล่นทำให้คะแนนหายไปถึง 3 คะแนนได้มีเด็กที่เสียโอกาสการยืนเข้ามหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝันเนื่องจากคะแนนตกหล่นแต่พอมีการเรียกพิสูจน์ข้อสอบ พบว่าตนเองได้คะแนนเพิ่มกลับมาแต่ไม่สามารถยื่นเข้าคณะนั้นได้ทันเนื่องจากปิดรับสมัครไปแล้วทำให้เสียโอกาสในครั้งนี้ หรือเด็กที่อยู่ ๆ ก็ถูกลดคะแนนลงจนที่ยื่นไปถูกตัดตกรอบ จากสถานการณ์ที่กล่าวมาอาจส่งผลให้เด็กหลายคนหลุดออกจากระบบการศึกษาในปีนี้และต้องกลับเข้าไปสอบใหม่ในปีหน้าซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาเป็นอย่างมาก ที่สำคัญคือหากเด็กที่มีทุนในการเรียนต่ออาจเลือกเรียนในต่างประเทศจนนำไปสู่ภาวะสมองไหลอีกด้วย

 

ข้อมูลจากหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์[3] พบว่าอัตราการเติบโตของนักเรียนนักศึกษาที่เรียนต่อต่างประเทศทั่วโลกในปี 2562 เพิ่มขึ้น 40-60% หรือประมาณ 5 ล้านคนและคาดว่าในปี 2568 จะเพิ่มเป็น 8 ล้านคน จากข้อมูลการเรียนต่อในนิวซีแลนด์ของปี 2562 ทั้งหมด 125,392 คน มีสัดส่วนเกือบ 3 % เป็นคนไทย จำนวน 3,377 คน

 

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจาก บริติช เคานซิล ประเทศไทย[4] เปิดสถิตินักเรียนไทยที่เลือกศึกษาต่อต่างประเทศในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2560/61 มีจำนวนถึง 15,738 คน โดยเลือกเรียนที่สหราชอาณาจักรมากที่สุดและเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2562 เพิ่มขึ้นอีก 5% จากปีก่อนหน้า วัดจากจำนวนการออกวีซ่านักเรียน ที่หน้าจับตามองคือเป็นนักศึกษาปริญญาตรี 20% และนักเรียนมัธยมปลาย (ไฮสกูล) 20% คาดการณ์ว่าทั้งสองกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรออกกฎหมายปลดล็อกวีซ่าให้กับบัณฑิตอุดมศึกษาสามารถทำงานต่อในประเทศได้อีก 2 ปีหลังเรียนจบเพิ่มโอกาสของการสมองไหลของแรงงานไทยก็เพิ่มสูงขึ้น

 

 

สถิตินักเรียนไทยที่เลือกศึกษาต่อต่างประเทศในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2560/61

 

                หลายคนคงคิดว่าคนไทยมีมากกว่า 70 ล้านคน หากออกไปสักแสนคนคงไม่เป็นอะไร มันจะดีแบบนั้นไปได้ตลอดจริงหรือ?

 

    ภาวะสมองไหลเกิดขึ้นจริงในไทยแล้วอะไรที่น่าเป็นห่วง?

            จากข้อมูลสถิติการเดินทางไปทำงานต่างประเทศของกรมการจัดหางาน[5] ในปี 2566 (มกราคม - พฤศจิกายน 2566) มีจำนวนแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศทั้งสิ้น 63,038 คน ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศยังคงต้องการแรงงานในหลายภาคส่วนเนื่องจากอัตราผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ไต้หวันที่กำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2568 มีประชากรสูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่อัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำ (สำนักงานแรงงาน ณ กรุงมะนิลา ไทเป, 2566) ทำให้ไต้หวันตอบรับแรงงานไทยเข้าไปทำงานมากถึง 20,878 ในปี 2566 ที่ผ่านมา ปัจจัยที่คนไทยเลือกย้ายไปไต้หวันเนื่องจากค่าครองชีพพอ ๆ กับไทยแต่ได้รับรายได้มากกว่า

 

ที่น่าเป็นห่วงเลยคือไทยก็กำลังจะเข้าเป็นประเทศผู้สูงอายุเช่นกัน โดยเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลกและจะแซงอันดับที่ 2 อย่างสิงคโปร์ในอีก 15 ปีข้างหน้า[6] มองเผิน ๆ ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวอะไร แต่ปัญหาเศรษฐกิจทั้งเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่ต่ำส่งผลไปถึงระดับการศึกษาทำให้คนรุ่นใหม่ต้องการมองการณ์ไกลถึงการย้ายออกนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันอัตราการเกิดของเด็กไทยมีเพียงปีละประมาณ 500,000 คน คิดเป็นสัดส่วนการเกิดต่อสตรีเพียง 1.34[2] ทำให้เด็กทุกคนในระบบการศึกษาไทยคืออนาคตที่ถูกมองว่าต้องรักษาเอาไว้เป็นแรงงานเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป

 

               

ลองคิดดูจากสถิติอ้างอิงว่าไทยจะเสียโอกาสทางเศรษฐกิจไปมากมายเท่าไหร่หากนับรวมผู้คนที่สมองไหลออกนอกประเทศเข้าไปด้วยเพราะแค่จำนวนของเด็กยากจนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา จำนวน 33,547 คน ในช่วงชั้น ม.3 ขึ้น ม.4 ก็ทำให้ไทยเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมากถึง 409 ล้านบาทต่อปี[2]กันเลยทีเดียว

คุณคิดว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทยต้องปรับอะไรบ้างและการศึกษาต้องไปในทิศทางไหนที่จะเก็บอนาคตของชาติเอาไว้ได้ แลกเปลี่ยนไปด้วยกันกับอักษรครับ

 

 

         

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. Active Learning อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่น ๆ ได้ที่   >>> คลิก <<<

 
 

 

 

 

 

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง